วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่9

ให้นักศึกษา ดูทีวีในแหล่งความรู้โทรทัศน์สำหรับเลือกดูคนละหนึ่งเรื่อง การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน  ให้สรุปเป็นประเด็นสำคัญ ที่นักศึกษาเห็นว่าสำหรับการจัดการเรียนการสอน และหากนักศึกษาไปฝึกสอนในสถานศึกษาที่ได้ดูจากทีวี  นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า  อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร  เขียนอธิบายขยายความลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 9 (โทรทัศน์สำหรับครูอยู่ในแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู เลือกพยายามอย่าให้ซ้ำกัน หรือซ้ำกันแต่ให้มุมมองที่แตกต่างกัน)
จากการศึกษาโทรทัศน์ครู  เรื่องหน้าที่พลเมือง : การสร้างชุมชน สำคัญที่ผู้เรียนจะได้ประสบการณ์จากสถานที่ จึงสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
หน้าที่พลเมือง : การสร้างชุมชน KS3/4 Citizenship : Establishing Communities  
              ความคิดอันน่าดึงดูดใจ ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้วิชาพลเมืองไปกับเจมี่ เอเลียตต์ ผู้ประสานงานวิชาพลเมืองจากโรงเรียนเดนคอร์ต ในดาบีเชอร์ ซึ่งได้รับผลการประเมินดีเยี่ยมในสาขาวิชานี้จาก Ofsted เจมีริเริ่มนำบทบาทสมมุติมาใช้สอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยกำหนดสถานการณ์ว่าทุกคนถูกปล่อยทิ้งไว้ที่เกาะร้าง ผู้เรียนจะได้ฝึกฝนทักษะต่างๆ เช่น การลำดับความสำคัญ เลือกผู้นำ และสร้างกฎเกณฑ์ กิจกรรมนี้ออกแบบมาเพื่อสอนทักษะที่จำเป็น สำหรับสมาชิกที่ดีของชุมชน และช่วยให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของการตัดสินใจ อย่างมีประสิทธิภาพ
                สิ่งที่ข้าพเจ้าได้จากการเรียนรู้เรื่องการสร้างชุมชน
                การสอนเรื่องชุมชนเป็นหัวใจหลักของหลักสูตรวิชาหน้าที่พลเมืองเป็นการสอนที่ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1เป็นต้นแบบการจัดการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนศึกษาถึงสภาพภูมิอากาศ สภาพพื้นที่ที่จะทำการทดสอบ เช่น สภาพของสถานที่ที่จะไปว่ามีสถานที่ใดบ้าง ให้นักเรียนวิเคราะห์และร่วมกันแสดงความคิดเห็นกันให้นักเรียนร่วมกันวางแผนคิดและจินตนาการโดยเน้นผุ้เรียนเป็นศูนย์กลาง ปล่อยให้ผู้เรียนมีความคิดที่เป็นอิสระ ขั้นตอนแรกที่ครูให้นักเรียนดูนั้นเริ่มจากแผนที่และคิดวิเคราะห์จินตนาการ ว่าสถานที่ที่ไปนั้นเป็นอย่างไร หากสถานที่เป็นเกาะร้างบริเวณรอบไม่มีสิ่งเอื้ออำนวยหากเป็นเช่นนี้นักเรียนจะทำอย่างไร เหตุนี้สอนให้นักเรียนรู้จักคิดถึงการอยุ่ร่วมกันและความเข้มแข็งของชุมชนโดยให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ป็นตัวอย่างชุมชน 1 ชุมชน เพื่อให้รู้ถึงสภาพจริงของคนในชุมชนนั้นๆ ครูจะสอนให้นักเรียนมีความช่วยเหลือกัน มีทัศนคติต่อเพื่อนร่วมห้อง และมีความสุขในการใช้ชีวิตร่วมกันดังเช่นคนในชุมชน
การเรียนรู้โดยวิธีการศึกษานอกสถานที่
การเรียนรู้แบบการศึกษานอกสถานที่ เป็นการจัดการเรียนรู้ ที่ผู้สอนพาผู้เรียนออกไปศึกษานอกสถานที่ เพื่อแสวงหาคำตอบจากประสบการณ์ตรงและสถานที่จริง โดยมีวิทยากรเป็นผู้ให้ความรู้ การพาผู้เรียนไปนอกสถานที่ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์เกี่ยวกับการพัฒนาด้านสังคม ให้รู้จักรับผิดชอบต่อชุมชน ต่อตนเอง ส่งเสริมการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เร้าความสนใจให้แก่ผู้เรียน การศึกษานอกสถานที่ถือเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่ามาก เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกๆ เพราะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ตรง สามารถเกิดเจตคติที่พึงประสงค์ ปลูกฝังเยาวชนให้รู้จักหวงแหน ภาคภูมิใจ รักและห่วงใยต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดได้ยากหากผู้เรียนเรียนรู้เฉพาะในห้องเรียน
คุณลักษณะที่ดีของคร
1. มีความเป็นครู คือ ทำตนเองเป็นตัวอย่างที่ดี มีเมตตาปราณี รักอาชีพครู ใฝ่รู้ โลก ทัศน์กว้าง รับผิดชอบต่อหน้าที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง มีวุฒิภาวะ ยุติธรรม มีชีวิตที่สงบ และ เรียบง่าย มีบทบาทในการช่วยเหลือชุมชนมากขึ้น
2. มีความรู้ในด้านต่อไปนี้ คือ
2.1 วิชาเฉพาะอย่างลึกซึ้งเหมาะสมกับระดับการศึกษาที่จะสอน
2.2 วิชาครู วิทยาการการจัดการ จิตวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน การวิจัย การประเมินผล
2.3 ความรู้ทั่วไป โดยเฉพาะเรื่องการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และการอนุรักษ์ ธรรมชาติ
3. มีความสามารถในวิธีสอน วิธีอบรมและการพัฒนาการเป็นผู้นำ ผู้ตาม และ ผู้ประสานงานที่ดีโดยได้รับการฝึกปฏิบัติเหมาะสมจนเกิดเป็นทักษะ
4. ความรับผิดชอบ หมายถึง ความมุ่งมั่น ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพัน พากเพียร และละเอียดรอบคอบ ยอมรับผลกระทำในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ทั้งพยายามที่จะปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่
5. ความยุติธรรม หมายถึง การปฏิบัติด้วยความเที่ยงตรง สอดคล้องกับความเป็นจริง และเหตุผล ไม่มีความลำเอียง
6. การรักษาวินัย หมายถึง การควบคุมความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสมกับ จรรยามารยาท ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม

อ้างอิง
http://sutipsada.blogspot.com/ อ้างถึงใน Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู แหล่งรวมข้อมูล วีดีโอ หน้าที่พลเมือง:การสร้างชุมชน 3 ก.พ 54
.............................................................................................................................................

กิจกรรมที่8

เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organization Culture)
ให้นักศึกษา  -สรุปความหมายวัฒนธรรมองค์การ
                     - แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
                     - แนวทางพัฒนาองค์การ
                      -กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
                     - แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
โดยให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าโดยใช้ Internet และเอกสารห้องสมุดให้ตรงกับหัวเรื่องตามที่อาจารย์กำหนดให้มา สรุปเป็นความคิดของนักศึกษาและอ้างอิงแหล่งที่ค้นคว้าด้วย
            ความหมายวัฒนธรรมองค์การ           
ความหมาย
                วัฒนธรรมองค์การคือ การสร้างของค่านิยมและความเชื่อซึ่งสมาชิกขององค์การหรือหน่วยงานให้ความสนใจของการดำรงอยู่ขององค์การ วัฒนธรรมองค์การแบบไหนที่มีอยู่ในองค์การที่สามารถจะค้นพบได้โดยการเรียนรู้ ตลอดจนรวมถึงตัวสัญลักษณ์และสถานภาพพิเศษของตัวองค์การ ผู้บริหารจักต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของปัจจัยทั้งหมดที่สามารถใช้ในการพัฒนาองค์การ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตั้งองค์การเป็นอย่างมาก
                วัฒนธรรมองค์การที่จะกล่าวถึงเป็นแบบแผนของความเชื่อ ค่านิยม ความคิด และการกระทำซึ่งมีการพัฒนาภายในองค์การและใช้เป็นสิ่งที่ช่วยแนะแนวทางพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การนั้นๆด้วย ถ้าเป็นในกลุ่มธุรกิจแบบนี้หมายถึง วัฒนธรรมบริษัท (Corporate culture) ในแต่ละองค์การจะมีวัฒนธรรมแตกต่างกันออกไปไม่มีทางเหมือนกันได้อย่างสมบูรณ์ ความแตกต่างของวัฒนธรรมองค์การสามารถที่จะมีผลกระทบเป็นอย่างมากกับผลการปฏิบัติงานขององค์การ และคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน
                องค์การบางแห่งมีวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ทุกคนรู้ถึงเป้าหมายขององค์การและต้องการทำงานเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายอันนั้น ภายในกลุ่มก็ต้องการการทำงานที่มีบรรทัดฐานของขนบธรรมเนียมและแบบแผนเป็นฉบับเดียวกันและ วัฒนธรรมที่ได้ถูกบรรจงสร้างขึ้นนี้จะได้รับการดูแลลให้เติบโตอยู่คู่กับองค์การจนเป็นลักษณะหรือเอกลักษณ์เฉพาะตัว แม้กาลเวลาจะผ่านไปองค์การก็ยังคงมีวัฒนธรรมที่ฝังแน่นและก็ยังคงเป็นองค์การชั้นนำอยู่ จริงอยู่วัฒนธรรมบางอย่างแปรเปลี่ยนไปและปรับตัวตามสภาพ บางอย่างก็ยังคงได้รับการยอมรับ และยึดถืออยู่อย่างเหนียวแน่น ตัวอย่างเช่น ท่านเดินเข้าไปในโรงแรมโคโลราโด สปริงส์ (Colorado springs) โรงแรมเบรกเกอร์ (Breakers)ที่เวสท์ ปาล์ม บรีช (West Palm Beach)หรือโรงแรม เอชที ฟรานซิส(ST. Francisce) จะมีบรรยากาศความรู้สึกรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ โรงแรมเหล่านี้มีบุคลิกภาพ มีเสน่ห์ ให้ความรู้สึก โรงแรมเหล่านี้มีวัฒนธรรมซึ่งมีอิทธิพลต่อวิถีทางที่ลูกค้าตอบรับ และต่อวิถีทางที่พนักงานปฎิบัติต่อลูกค้าได้เป็นอย่างดี อีกตัวอย่าง แม็คโดแนลมีวัฒนธรรมองค์การที่แตกต่างกันออกไป ร้านอาหารจำนวน 1,300 ร้าน ในเครือข่ายแม็คโดแนลได้ให้ความสนใจทั้งหมดต่อคุณภาพ บริการและความสะอาด
                วัฒนธรรมจึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในองค์การที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทัศนคติและประสิทธิผลโดยรวมของพนักงาน นอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมก็มีอิทธิพลหรือมีอำนาจเหนือองค์การ ไม่ว่าวัฒนธรรมองค์การนั้นจะอ่อนหรือแข้งแกร่งสักปานใดก็ตาม ย่อมมีผลกระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่างภายในองค์การนับตั้งแต่การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง การตัดสินใน ตลอดจนการแต่งกาย การกีฬา การทำงาน เป็นต้น
                ดังนั้นผู้บริหารที่ฉลาดจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และเข้าใจในวัฒนธรรมองค์การ ตลอดจนต้องเรียนรู้ถึงบทเรียนเก่าๆของวัฒนธรรมองค์การว่า มีการผูกมัดคนไว้ด้วยกันอย่างไร ซึ่งจะมีผลสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การและรักษาคุณสมบัติที่ดีขององค์การไว้ได้นานตลอดไป
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ

ประเทศต่าง ๆ จะมีขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมประเพณีเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง องค์การก็เช่นเดียวกัน จะมีวัฒนธรรมองค์การที่แตกต่างกันไปในแต่ละองค์การได้ วัฒนธรรมองค์การจะสร้างประโยชน์หรือคุณค่าให้แก่องค์การนั้น ๆ เช่น วัฒนธรรมในการมุ่งสร้างคุณภาพ วัฒนธรรมในการสร้างนวัตกรรม เป็นต้น แต่ขณะเดียวกันวัฒนธรรมองค์การบางอย่างก็ทำให้เกิดจุดอ่อนแก่องค์การนั้น ๆ ได้ เช่น วัฒนธรรมแบบอนุรักษ์นิยม วัฒนธรรมการทำงานแบบมุ่งให้บุคลากรมีการแข่งขันกันมากจนเกินไป จนองค์การเกิดความระส่ำระสาย เป็นต้น

จากการศึกษาของ Daniel R. Denison (1990) ในปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การและประสิทธิผลขององค์การ พบว่าวัฒนธรรมองค์การจะส่งผลต่อประสิทธิผล (Effectiveness) ขององค์การเป็นอย่างมาก เมื่อวัฒนธรรมนั้นก่อให้เกิด
1.การผูกพัน (Involvement) และการมีส่วนร่วมในองค์การ
2.การปรับตัว (Adaptability) ที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ
3.การประพฤติปฏิบัติได้สม่ำเสมอ (Consistency) ซึ่งจะทำให้เกิดการทำงานที่ประสานกันและสามารถคาดหมายพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้
4.มีภารกิจ (และวิสัยทัศน์) ขององค์การที่เหมาะสม ทำให้องค์การมีกรอบและทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน
ปัจจัยทั้ง 4 ส่วนนี้ จะทำให้องค์การสามารถบรรลุสู่ประสิทธิผล (Effectiveness) ตามที่ต้องการได้ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การจึงมีความสำคัญที่จะสนับสนุนให้องค์การบรรลุสู่วิสัยทัศน์ และภารกิจที่กำหนดอย่างเหมาะสมได้
กระบวนการสร้างสรรค์วัฒนธรรมองค์การ ( Creating the Organization Culture )
                ขั้นตอนที่หนึ่ง การกำหนดค่านิยมเชิงกลยุทธ์ (Formulate Strategic Values) ค่านิยมเชิงกลยุทธ์คือ ความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์การ ซึ่งเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์ที่ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการกลั่นกรองของสิ่งแวดล้อม และการวิเคราะห์กลยุทธ์เพื่อประเมินทางด้านเศรษฐกิจประชากร นโยบายสาธารณะ เทคโนโลยีและสังคม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นตัวกำหนดความต้องการของตลาดที่องค์การสามารถที่จะเผชิญได้
                ขั้นตอนที่สอง พัฒนาค่านิยมทางวัฒนธรรม (Develop Culture Values) คือค่านิยมที่พนักงานต้องการที่จะปฏิบัติเพื่อให้องค์การสามารถดำเนินตามค่านิยมเชิงกลยุทธ์ได้ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อขององค์การที่ว่า องค์การสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างไร และเมื่อใดถ้าองค์การไม่พยายามที่จะพัฒนาค่านิยมทางวัฒนธรรมให้เชื่อมโยงกับการกำหนดค่านิยมเชิงกลยุทธ์ ก็จะเป็นการจบไปกับความว่างเปล่าของกลุ่มค่านิยม ดังนั้นพนักงานในองค์การจำเป็นที่จะต้องมีค่านิยมเกี่ยวกับพฤติกรรมในการทำงานที่มีความมั่นคง เพื่อเป็นการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนค่านิยมเชิงกลยุทธ์ขององค์การ เช่นการผลิตที่ระดับต้นทุนที่ต่ำ การบริหารลูกค้า หรือวัฒนธรรมทางเทคโนโลยี
                ขั้นตอนที่สาม การสร้างวิสัยทัศน์ (Create Vision) วิสัยทัศน์คือ ภาพขององค์การ ว่าจะเหมือนหรืออยู่ ณ จุดใดในอนาคตขององค์การหลังจากที่มีการพัฒนาค่านิยมเชิงกลยุทธ์และค่านิยมทางวัฒนธรรมแล้วองค์การก็จะกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ ใช้เป็นแนวทางร่วมกันระหว่างค่านิยมเชิงกลยุทธ์กับค่านิยมทางวัฒนธรรม ซึ่งถูกกำหนดขึ้นมาเป็นอันดับแรกก่อนที่จะมีการเขียนวิสัยทัศน์ เพื่อการสร้างภาพในอนาคตขององค์การและสื่อสารผ่านพนักงานทุกคน สำหรับใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้เป็นตามเปาหมายขององค์การ
                ขั้นตอนที่สี่ การเริ่มดำเนินกลยุทธ์ (Initiate Implementation Strategies) เป็นการสร้าง ค่านิยมและเริ่มปฏิบัติเพื่อบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่ได้กำหนดไว้ การเริ่มต้นดำเนินกลยุทธ์มักจะครอบคลุมหลายปัจจัย ตั้งแต่การพัฒนาการออกแบบองค์การไปจนถึงการสรรหาและการฝึกอบรมพนักงานที่มีค่านิยมร่วม และดำเนินการตามค่านิยมร่วมนั้น โดยมีค่านิยมเชิงกลยุทธ์และค่านิยมทางวัฒนธรรมเป็นตัวกระตุ้นหรือสิ่งเร้าเพื่อให้เกิดการปฏิบัติ
                ขั้นตอนที่ห้า การเสริมแรงพฤติกรรมทางวัฒนธรรม (Reinforce Culture Behavior) การเสริมแรงพฤติกรรมทางวัฒนธรรมสามารถจะกระทำได้หลายรูปแบบ รูปแบบแรก การจัดการระบบการให้รางวัลอย่างเป็นทางการในองค์การ ซึ่งจะต้องตอบสนองต่อความต้องการของพฤติกรรมในหลายๆด้านเพื่อให้เกิดค่านิยมแก่พนักงาน รูปแบบที่สององค์การจะต้องบอกเรื่องราวต่างๆไปยังพนักงานทุกคนเพื่อเสริมสร้างค่านิยมทางวัฒนธรรม รูปแบบที่สาม องค์การจะต้องเน้นให้พนักงานที่สิ่งต่างๆที่สำคัญๆเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวิสัยทัศน์ขององค์การ และให้เกิดผลปฏิบัติได้อย่างจริงจัง ดังนั้นองค์การก็จะต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งเพื่อให้พนักงานทำในสิ่งที่เหมาะสม
การนำมาใช้กับบริหารกับองค์กรเทคโนโลยีการศึกษา
องค์กรเทคโนโลยีการศึกษาถือเป็นองค์กรรูปแบบหนึ่งที่มีการนำรูปแบบวัฒนธรรม
องค์การมาใช้ในหน่วยงาน ทำให้องค์กรเทคโนโลยีการศึกษามีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น
ไม่แตกต่างจากองค์กรอื่น  ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมที่เหมาะสมกับองค์เทคโนโลยีการศึกษาก็คือวัฒนธรรมองค์การที่เน้นบทบาท เพราะวัฒนธรรมองค์การนี้ใช้กับราชการหรือหน่วยงานจะเน้นในระเบียบ คำสั่ง กฎระเบียบต่าง ๆ  การเชื่อฟัง ทำตามกฎระเบียบ และคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
ซึ่งมีความล่าช้าในการปรับเปลี่ยนตัวเอง แล้วก็จะเอาวัฒนธรรมแบบเครือญาติกับวัฒนธรรมแบบราชการมาผสมรวมให้เป็นวัฒนธรรมองค์การเทคโนโลยีได้อีกหนึ่งรูปแบบ
วัฒนธรรมแบบเครือญาติ

วัฒนธรรมแบบราชการ

มีค่านิยมเน้น : - ความร่วมมือ
          - ความเอื้ออาทร
          - รักษาข้อตกลง
          - ความเป็นธรรม
          - ความเสมอภาคทางสังคม
มีค่านิยมเน้น : - ความประหยัด
 - ความเป็นทางการ
 - ความสมเหตุผล
 - ความเป็นระเบียบ
 - ความเคารพเชื่อฟัง

เพราะถ้าเอาแต่วัฒนธรรมแบบราชการมาอย่างเดียวอาจจะตึงเครียดไปจึงเอาวัฒนธรรมแบบเครือญาติมาด้วยเพราะบุคลากรในหน่วยงานต้องพบปะผู้คนมากอีกอย่างจะต้องทำงานกันเป็นทีมมีอะไรก็ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รักกันเหมือนพี่น้อง  บุคลากรที่ทำงานในหน่วยนี้ต้องมีใจรักงานบริการการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ต่อผู้ร่วมและผู้มาขอบริการ  แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้บริหารถ้ามีผู้บริหารที่ดีองค์กรเทคโนโลยีการศึกษาก็จะประสิทธิภาพในการทำงาน

                                                                                                                                                      อ้างอิง
                                                       images.tidabadbad.multiply.multiplyco อ้างถึงใน
                                              เสนาะ ติเยาว์. การบริหารและพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3 .พ.ศ. 2546 ,
                                                                                              โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กทม.
                                                   วิเชียร วิทยอุดม (2547) . พฤติกรรมองค์การ . พิมพ์ครั้งที่ 1 กทม.
        สุนทร วงศ์ไวศยวรรณ.  (2540).  วัฒนธรรมองค์การ แนวคิด งานวิจัย และประสบการณ์. 
                                                                                                             กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โฟร์เพช

กิจกรรมที่ 7

การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ   ให้นักศึกษาเปิดไฟล์ข้อมูลและสรุปการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพเป็นอย่างไร และนักศึกษาจะมีวิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพได้อย่างไร  อ่านจากบทความนี้และนำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
การจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
ปัญหา อย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยในหลายโรงเรียน คือ การควบคุมดูแลนักเรียนให้อยู่ในระเบียบวินัยและตั้งใจเรียนแม้กระทั่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนที่มีความเชื่อมั่นในวิธีการควบคุมชั้นเรียนโดยนักเรียนต้องเชื่อฟังและอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัดซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่สอดคล้องกับแนวการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้นั้นๆ ได้คิดลงมือทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ตื่นตัว ตื่นใจ หรือมีใจจดจ่อผูกพันกับสิ่งที่ทำ มิใช่เพียง ทำไปให้เสร็จภารกิจเท่านั้น ดังนั้นการที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมนั้นจะต้องมีลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่าง “Active” คือ ช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกมีความกระตือรือร้นตื่นตัว มีความจดจ่อ ผูกพันกับสิ่งที่ทำ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และครูที่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จนั้นจึงได้รับการยอมรับ ว่าเป็น ครูมืออาชีพ
ดังนั้น ครูมืออาชีพจึง เป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน มีความสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพรวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างแท้จริงดังนั้นการบริหารจัดการชั้น เรียนตลอดจนการสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ หรือสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่ครูมืออาชีพต้องให้ความสำคัญ และสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน
1. การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
2. การกำหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนไว้ล่วงหน้าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการชั้นเรียนเพราะจะทำให้นักเรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองโดยไม่แสดงอาการหรือพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนของผู้อื่น
3.  ชั้นเรียนที่มีการจัดการกับพฤติกรรมนักเรียนได้อย่างเหมาะสม
4.  การจัดการในชั้นเรียนให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทร
     ดังนั้นความสำคัญของการจัดการในชั้นเรียน  เป็นการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน เพื่อกระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
การจัดการชั้นเรียน
 คือการจัดสภาพของห้องเรียนทางด้านกายภาพหรือการตกแต่งห้องเรียนด้วยวัสดุตกแต่ง เพื่อเป็นการจูงใจนักเรียนให้มีความสนใจและตั้งใจเรียนนั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดการชั้นเรียนเท่านั้น หากแต่ต้องมีการสร้าง สรรค์และเอาใจใส่สภาพบรรยากาศภายในห้องเรียนด้วยเช่นกันครูจึงเป็นบุคคลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในการรับหน้าที่เป็นผู้สร้างและส่งเสริมมกระบวนการเรียนการสอน กระตุ้นความใฝ่รู้และใส่ใจในการศึกษาของผู้เรียน สร้างความมีระเบียบวินัยให้กับผู้เรียน
การจัดการชั้นเรียนมีความสำคัญด้วยเหตุผลหลายประการ
คือการเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียนนักเรียนที่อยู่ในชั้นเรียนที่ ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนมีเสียงดังและสิ่งรบกวน หรือการจัดที่นั่งไม่เหมาะสมอาจเกิดสาเหตุให้เกิดปัญหาทางวินัยนำไปสู่การ แสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว หรือทำให้นักเรียนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
            ดังนั้น จะเห็นว่าการจัดการบริหารชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความ กระตือรือร้นในการเรียนและร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยมีครูเป็นผู้วางแผนและกระบวนการส่งเสริมทั้งทางด้านกายภาพ จิตวิทยา และสังคม โดยมีสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow)ที่ กล่าวว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานอย่างเป็นลำดับขั้น เริ่มตั้งแต่ขั้นความต้องการทางด้านร่างกาย ขั้นความต้องการความมั่นคง ขั้นความต้องการการยอมรับและยกย่องจากสังคมและขั้นความต้องการพัฒนาศักยภาพ ของตนอย่างเต็มที่ ทำให้ต้องการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทำให้ครูต้องเป็นผู้ช่างสังเกตว่านักเรียนมีความต้องการพื้นฐานในระดับใดและพยายามช่วยเหลือตอบสนองความต้องการของนักเรียน ให้ความเป็นอิสระและเสรี รวมทั้งจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และรู้จักตนเอง
วิธีการจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
การจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพนั้นคนที่เป็นครูควรยึดหลักดังต่อไปนี้
1.หลักประชาธิปไตย ครูควรให้ความสำคัญต่อนักเรียนเท่าเทียมกัน ให้ความเสมอภาค ให้ อิสระ ให้โอกาสแก่ทุกคนในการแสดงความคิดเห็น ขณะเดียวกันครูต้องใจกว้าง ยินดีรับฟังความเห็นของทุกคน และควรฝึกให้นักเรียนปฏิบัติตนตามสิทธิหน้าที่ รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างประชาธิปไตย
2. หลักความยุติธรรม ครู ควรปกครองโดยใช้หลักความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคนโดยทั่วถึง นักเรียนจะเคารพศรัทธาครู และยินดีปฏิบัติตามกฎระเบียบของครู ยินดีปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของครู ตลอดจนไม่สร้างปัญหาในชั้นเรียน
3. หลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ถ้าครูทุกคนยึดหลักพรหมวิหาร 4 ใน การปกครองชั้นเรียน นอกจากจะทำให้นักเรียนมีความเคารพรักศรัทธาครู และมีความสุขในการเรียนแล้วยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่นักเรียนด้วย
4. หลักความใกล้ชิด การที่ครูแสดงความเอาใจใส่ ความสนใจ ให้ความใกล้ชิดกับ
นำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
ครูมืออาชีพต้องมีคุณภาพการสอน
                สิ่งที่ครูมืออาชีพควรตระหนักเป็นอย่างยิ่งก็คือคุณภาพการสอนซึ่งเป็นความสามารถที่จะสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคนครูมืออาชีพ จึงต้องมีความสามารถในการประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ และการจัดระบบ ได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้และความต้องการทางการศึกษาของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและสาระการเรียนรู้ที่สอนสามารถติดตามการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มและเป็นชั้นส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ ฝึกการใช้ภาษา คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้และกระตือรือร้นในการฝึกผู้เรียนเข้าสู่ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของตน

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 6


ให้นักศึกษาอ่านบทความนี้  สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร
รองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ปิลันธนานนท์*  สารานุกรมวิชาชีพครู  เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖0 พรรษา หน้า ๓๑๑๓๑๗

                สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ
มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด วิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ
วิชาชีพที่มีมาตรฐาน จึงได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเพราะผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่งใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา ได้รับการศึกษาอบรมมายาวนานเพียงพอ มีอิสระในการใช้ชีวิตตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพที่เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์และจรรโลงวิชาชีพด้วย
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่า เป็นบริการที่มีคุณภาพ และตอบสังคมได้ด้วยว่า การที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมโดยต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๙ ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไว้ ๓ ด้าน คือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๔) เช่น
 ๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
               มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
               มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
                - ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
                - ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
                - มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
                - พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
                - พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
                - จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
                - รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
                - ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
                - ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
                - ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
                - แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
                - สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์

                ๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้อง  ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
                - จรรยาบรรณต่อตนเอง
                - จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
                - จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
                - จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
                - จรรยาบรรณต่อสังคม

                พื้นฐานและแนวคิด
          โดยพื้นฐานและแนวความคิดความเชื่อของการมีมาตรฐานวิชาชีพ คือ
                - เป็นมาตรการของการให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อสามารถพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพเป็นทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล
                - เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลื่อนตำแหน่งวิชาชีพ เพิ่มคุณวุฒิ คุณภาพ คุณสมบัติ รวมทั้งทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพ
                - เป็นมาตรการที่จะเพิ่มมาตรฐานในระดับวิชาชีพที่ทำอยู่ในด้านความรู้ความเข้าใจ และสมรรถนะของบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพยิ่งขึ้น เป็นต้น
          มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้น นอกจากเป็นมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนตามบริบทของวิชาชีพชั้นสูงทั่วไปแล้ว ยังต้องมีการปฏิบัติการวิชาชีพที่เกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศที่สำคัญด้วยคือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๑)
                - สร้างพลเมืองดีของประเทศ โยให้การศึกษาขึ้นพื้นฐานที่ประเทศต้องการ
                - พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                - สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามขงอชาติ จากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อรักษาความเป็นชาติไว้ให้มั่นคงและยาวนาน
สรุปมาตรฐานวิชาชีพครู
            แนวทางการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้วโดยเฉพาะการควบคุมและรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพเป็นเรื่องที่เพิ่มจะกำหนดให้มีการดำเนินงานครั้งแรกในวิชาชีพครูโดยกำหนดให้มีการกำหนมาตรฐานวิชาชีพออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
                มาตรฐานวิชาชีพครูเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครูโดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพคุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพครูตาม พ...ครู พ..2488ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ไว้ 3 ด้าน กล่าวคือ
                1.  มาตรฐาน ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
                2.  มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติงาน
                3.  มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติตน               
           
             การนำไปประยุกต์ใช้
1. จัดการเรียนการสอน
2. จัดสาระการเรียนรู้
3. จัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน
4. ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์
5.  จัดกิจกรรม ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง
6. จัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ
7. จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม เพื่ออำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
8. จัดการเรียนรู้ ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่
9. จัดการประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ สังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่ไป
10. จัดทำสาระ ของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชน และสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่นรวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์
11. ร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน
องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
12. พัฒนากระบวนการเรียนการสอน ที่มีประสิทธิภาพ และดำเนินการวิจัย เพื่อพัฒนาการ
เรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน แต่ละระดับการศึกษา
               13.  พัฒนาขีดความสามารถ ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อกาศึกษาของผู้เรียน
               14. ปฏิบัติงาน และประพฤติปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู

กิจกรรมที่ 5

ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้ แล้วสรุปลงในบล็อกของนักศึกษาสิ่งที่ได้คืออะไรและจะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร

สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ  มีท่านหนึ่งได้พูดเรื่อง ต้นแบบ ว่า พระมหากษัตริย์ของเรามี ต้นแบบที่ทรงคุณมหาศาลที่หล่อหลอมพระองค์ท่านให้เป็นกษัตริย์ที่สถิตในดวงใจของปวงชนชาวไทย นั่นคือ “สมเด็จย่าแม้ว่าสมเด็จย่า จะจากพวกเราไป แต่พระองค์ฝากสิ่งที่สำคัญยิ่งไว้ให้ชาวโลกแล้ว วิทยากรที่กล่าวถึงคือ พระเทพโสภณ (ประยูร ธมมจิตโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
 พระคุณเจ้าได้สรุปความสำคัญของคำว่า ต้นแบบว่ามี 2 นัย 
 -นัยแรกคือต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง ศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ
                -นัยที่สองคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรค์สิ่งดีงาม
พระคุณเจ้ายังกล่าวถึงการศึกษาด้วยว่า การศึกษาถ้าไม่มีแบบอย่างที่ดีเป็นไปไม่ได้ การศึกษาเป็นระบบกัลยาณมิตร เป็นพรหมจรรย์ การมีต้นแบบที่ดีย่อมเป็นกำลังใจ ครูควรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีชี้นำทางสว่างแก่ศิษย์
ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ ต้นแบบสอนให้รู้ ต้นแบบทำให้ดู และต้นแบบอยู่ให้เห็น หากครูเป็นต้นแบบที่ดี เป็นกัลยาณมิตรของศิษย์และเพื่อนครู ก็ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดครูดี ศิษย์ดีต่อเนื่องขยายวงต่อ ๆ กันไป ผู้ที่มีวิญญาณแห่งต้นแบบการเรียนรู้ ย่อมจะไปเหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอด
จุดเริ่มต้นของการเกิดแรงบันดาลใจในชีวิตผู้ดูแบบ คือการ ได้รู้ ได้ดู ได้เห็นต้นแบบ เกิดศรัทธาต่อต้นแบบ เกิดแรงบันดาลใจให้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เลียนแบบของต้นแบบ
ต้นแบบต้องทำงานหนักและเหนื่อยทั้งเพื่อคงรักษาการเป็นต้นแบบ อีกทั้งถ่ายทอด ขยายเครือข่ายแก่ผู้ดูแบบ ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง  
1.เมื่อข้าพเจ้าได้เป็นครู ข้าพเจ้าจะเป็นครู ที่มีคุณภาพพัฒนาความรู้ของตนอยู่ตลอดเวลาติดตามข่าวสารและเทคโนโลยี

2.ข้าพเจ้าจะศึกษาเรียนรู้จาก ครูต้นแบบที่ดีและนำมาพัฒนาตนเองทั้งด้านความรู้  ทักษะ ความสามารถโดยจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.ข้าพเจ้าจะเป็นครูที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดีด้วยความรับผิดชอบต่อหน้าที่
4. ข้าพเจ้าจะสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานและการพัฒนาวิชาชีพครู ให้เป็น ครูมืออาชีพโดยมุ่งเน้นด้านการเอาใจใส่ต่อนักเรียน

กิจกรรมที่ 4

ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่อง ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง และสรุปสิ่งที่นักศึกษาอ่านได้ลงในบล็อกของนักศึกษา
ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง
ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด
ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เราทุกคนคงยอมรับว่าไม่มียุคสมัยใดที่การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วและมีผลกระทบรุนแรงเท่าในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงได้สร้างหายนะให้กับองค์กรหลายแห่งไม่เว้นแม้กระทั้งองค์กรที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงก็ได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับหลายองค์กรเช่นกัน
ประเด็นเรื่องการอยู่รอดและการเปลี่ยนแปลงเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยตรง ดังคำกล่าวของ ชาร์ล ดาร์วิน ที่ว่า "ผู้ที่อยู่รอด มิใช่เป็นสายพันธ์ (Species) ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด หากแต่ว่าเป็นผู้ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดต่างหาก"
การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ หากจะมองในระดับบุคคลแล้ว คงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดจะสำคัญและยิ่งใหญ่ไปกว่าการปรับเปลี่ยนมุมมอง (ทิฏฐิ) และทัศนคติ (Attitude) การรู้จักเปิดใจกว้าง ไม่ยึดติดอยู่กับความคิด หรือความรู้เดิมๆ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เป็นการเริ่มต้นสู่การเปิดรับสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่อคติ (Bias)
ประเด็นคำถามที่ตามมาก็คือ
ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นและเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตามที่เป็นหรือเกิดขึ้นจริง มิใช่เป็นการเห็นหรือเข้าใจตามที่เราต้องการจะเห็นหรือให้มันเป็น
ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถใช้ทั้งความรู้และความรู้สึกควบคู่กันไปอย่างได้สมดุล
ทำอย่างไรเราจึงจะไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบจนอาจลืมสาระและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของสิ่งนั้นๆไป
ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นความจำเป็นของระบบ ของมาตรฐานโดยที่ไม่มองข้ามความงดงามอันเนื่องมาจากความหลากหลาย (Diversity)
การสร้างการเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าวคงจะไม่ใช่เรื่องที่ง่าย หากเรายังใช้แต่หลักทางด้านการจัดการ (Management) อยู่ เพราะการจัดการนั้นจริงๆแล้วใช้ได้ผลดีเฉพาะกับสิ่งที่เป็นสิ่งของ (Things) เท่านั้น แต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน
ตัวอย่างเช่น เวลาเราพูดถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร ก็เป็นเรื่องของคน การปรับเปลี่ยนระบบก็เกี่ยวกับคน การนำเทคโนโลยีมาใช้ก็เกี่ยวกับคนเช่นกัน ซึ่งเรื่องของคนนั้นหากจะให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ (Leadership) มากกว่าที่จะใช้การจัดการ
ภาวะผู้นำหรือความสามารถในการนำนี้ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ หลายคนบอกว่าการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้นควรจะต้องเริ่มต้นด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดและจูงใจก่อนเป็นอันดับแรก เพราะนั่นคือการกำหนดทิศทาง เป็นการวางเป้าหมายสำหรับอนาคต

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3

ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
4. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ

นายชวน หลีกภัย
              

ประวัติของนายชวน หลีกภัย         
                นายชวน หลีกภัย เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ที่ตำบลท้ายพรุ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 9 คน ของนายนิยม หลีกภัย และนางถ้วน หลีกภัย เมื่อยังเด็ก นายชวนมีชื่อเรียกในครอบครัวว่า "เอียด" หมายถึง เล็ก เนื่องจากเป็นครูรูปร่างเล็กมีบุตรชายกับนางภักดิพร สุจริตกุล หนึ่งคน คือ นายสุรบถ หลีกภัย
                นายชวน หลีกภัย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองสมัย สมัยแรกระหว่างปี พ.ศ. 2535-2538 (ครม.คณะที่ 50) สมัยที่สองระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544 (ครม.คณะที่ 53) และเคยดำรงตำแหน่งเป็น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ติดต่อกัน 3 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2534-2546 เป็นเวลารวม 12 ปี


ผลงานเด่น
1. โครงการวิ่งรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2530
                โครงการนี้จัดขึ้นโดยมีมูลนิธิแพทย์ชนบทเป็นแกนกลาง ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรเอกชนอื่น ๆ เช่น มูลนิธิหมอชาวบ้าน คณะกรรมการประสานองค์กรเอกชนเพื่อการพัฒนาสาธารณสุข (คปอส.) ชมรมแพทย์ชนบท ฯลฯ จัดโครงการวิ่งรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงพิษภัยของการไม่สูบบุหรี่ ร่วมลงชื่อแสดงประชามติสนับสนุนการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ อันเป็นการกระตุ้นให้รัฐบาลได้ให้ความสนใจเข้ามารับผิดชอบแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง และเป็นการกระทำเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบด้วย ได้มีการเตรียมการวางแผนและประสานกันอย่าเต็มที่ แล้วทำการวิ่งรณรงค์ทั่วประเทศในระหว่างวันที่ 16-22 ตุลาคม 2530 จากทุกภาคของประเทศเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เพื่อนำรายชื่อผู้ร่วมลงประชามติมอบแก่ประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายชวน หลีกภัย) รับไปพิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป
การวิ่งรณรงค์แบ่งออกเป็น 4 สาย ดังนี้
สายเหนือ วิ่งจากจังหวัดเชียงใหม่ มี นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เป็นหัวหน้าสาย
สายใต้ วิ่งจากสวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีนพ.ชูชัย ศุภวงศ์ เป็นหัวหน้าสาย
สายตะวันออกเฉียงเหนือ วิ่งจากจังหวัดอุบลราชธานีและอุดรธานี มาบรรจบกันที่จังหวัดขอนแก่นแล้ววิ่งเข้าสู่กรุงเทพฯ มี นพ.สำเริง แหยงกระโทก เป็นหัวหน้าสาย
สายตะวันออก นพ.สมชัย ศิริกนกวิไล และ นพ.สงวน นิตยารัมภ์งพงศ์ ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานโครงการ ได้รายชื่อผู้ร่วมลงประชามติ ประมาณ 6 ล้านรายชื่อ
                ในการวิ่งครั้งนี้ มีแพทย์ชนบท เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้สนใจเข้าร่วมวิ่งในโครงการประมาณ 300 คน และในวันที่วิ่งเข้าถึงกรุงเทพมหานคร มีผู้ร่วมในพิธีมอบรายชื่อประชามติ ประมาณ 2,000 คน
                พิธีมอบรายชื่อกระทำเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2530 ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยมี พลตรีจำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้นเป็นผู้ให้การต้อนรับ มี ศจ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว เป็นผู้มอบรายชื่อประชามติให้กับ นายชวน หลีกภัย
โครงการหารายได้เพื่อดำเนินการได้ทั้งสิ้น 528,457 บาท ใช้จ่ายไปจริง 489,053.50 บาท คงเหลือเงิน 39,403.50 บาท สำหรับดำเนินกิจการอื่น ๆ ต่อเนื่อง
                โครงการนี้เป็นโครงการอันยิ่งใหญ่ที่แพทย์ชนบทได้ร่วมมือร่วมใจกันกระทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริม และพิทักษ์สุขภาพอนามัยของประชาชนทั่วประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการวิ่งรณรงค์แล้ว มูลนิธิฯ ยังได้ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องอีกหลายประการ ได้แก่ การผลักดันให้มีการจัดโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศเป็นเขตปลอดบุหรี่ การสร้างวิทยากรเพื่อการไม่สูบบุหรี่ทั่วประเทศ การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับปัญหาของการสูบบุหรี่ เป็นต้น
ผลของโครงการนี้ มีส่วนผลักดันและเสริมให้ "การรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่" ในประเทศไทยมีกระแสสูงยิ่งและเป็นกระแสที่สาธารณชนยอมรับและสนับสนุน จนกระทั่งกลายมาเป็นกฏหมายคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ และควบคุมการบริโภคยาสูบ รวมทั้งมีมาตรการเพื่อการไม่สูบบุหรี่อื่น ๆ ติดตามมาอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้

2.โครงการเยี่ยมแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกรโรงพยาบาลชุมชน
                เป็นโครงการที่ถือกำเนิดขึ้นเพื่อมุ่งที่การส่งเสริมขวัญและกำลังใจแก่แพทย์ที่ปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปฏิบัติงานอยู่ในเขตเสี่ยงภัยและทุรกันดาร และเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่วิชาชีพแพทย์ โดยการจัดทีมแพทย์อาวุโส อาจารย์แพทย์ และรุ่นพี่ที่สมัครใจออกเยี่ยมเยียนแพทย์ชนบท เริ่มโครงการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2531 และดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยในช่วง 2 ปีหลังนี้ได้ปรับขยายโครงการไปสู่การเยี่ยมเยียนทันตแพทย์ และเภสัชกรชนบทควบคู่กันไปด้วย
จากการประเมินผลการดำเนินงาน 5 ปี ของโครงการนี้ สรุปได้ว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดี สมควรดำเนินการต่อไป

3. โครงการสรรหาแพทย์ชนบท กองทุนนายแพทย์กนกศักดิ์ พูลเกษร
                สืบเนื่องจากการเสียชีวิตด้วยอาวุธสงครามระหว่างเดินทางกลับโรงพยาบาลของนายแพทย์กนกศักดิ์ พูลเกษร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นแพทย์ชนบทหนุ่มที่มีความตั้งใจและเสียสละไปปฏิบัติงานอยู่ในเขตเสี่ยงภัยชายแดน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2527 มูลนิธิฯ จึงได้จัดหาทุนตั้งเป็น "กองทุนนายแพทย์กนกศักดิ์ พูลเกษร" ขึ้น เพื่อเป็นการสดุดีและยกย่องเชิดชูเกียรติแก่นายแพทย์กนกศักดิ์ฯ จากนั้นก็ได้มีการจัดทำโครงการสรรหาเพื่อให้รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติแก่แพทย์ที่มีความตั้งใจ อดทนและเสียสละปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดีในชนบทเขตเสี่ยงภัยและทุรกันดาร ปีละ 1-2 คน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบันมีแพทย์ที่ได้รับรางวัลจากกองทุนนี้ไปแล้ว รวม 22 คน
                โครงการนี้เป็นอีกโครงการหนึ่งที่สามารถส่งเสริมขวัญ กำลังใจ และสนับสนุนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของแพทย์ชนบทได้อย่างเป็นรูปธรรม

สาเหตุที่ชอบนายชวน หลีกภัย
                เป็นบุคคลที่เป็นคนมีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงานเป็นบุคคลที่น่ายกย่องอีกคนหนึ่ง มีความขยันต่อหน้าที่การงานที่ทำ ไม่โกงบ้านโกงเมืองอยู่ในหลักศีลธรรม บริหารประเทศให้มีความเจริญเติบโต พัฒนาคนในประเทศให้อยู่อย่างมีความสุขไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน คอยที่จะแก้ปัญหาด้วยความปรองดองกันในสังคมให้ดีขึ้น

http://www.moph.go.th/ngo/rdf/16year.htm