ให้นักศึกษา ดูทีวีในแหล่งความรู้โทรทัศน์สำหรับเลือกดูคนละหนึ่งเรื่อง การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ให้สรุปเป็นประเด็นสำคัญ ที่นักศึกษาเห็นว่าสำหรับการจัดการเรียนการสอน และหากนักศึกษาไปฝึกสอนในสถานศึกษาที่ได้ดูจากทีวี นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร เขียนอธิบายขยายความลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 9 (โทรทัศน์สำหรับครูอยู่ในแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู เลือกพยายามอย่าให้ซ้ำกัน หรือซ้ำกันแต่ให้มุมมองที่แตกต่างกัน)
จากการศึกษาโทรทัศน์ครู เรื่องหน้าที่พลเมือง : การสร้างชุมชน สำคัญที่ผู้เรียนจะได้ประสบการณ์จากสถานที่ จึงสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
หน้าที่พลเมือง : การสร้างชุมชน KS3/4 Citizenship : Establishing Communities
ความคิดอันน่าดึงดูดใจ ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้วิชาพลเมืองไปกับเจมี่ เอเลียตต์ ผู้ประสานงานวิชาพลเมืองจากโรงเรียนเดนคอร์ต ในดาบีเชอร์ ซึ่งได้รับผลการประเมินดีเยี่ยมในสาขาวิชานี้จาก Ofsted เจมีริเริ่มนำบทบาทสมมุติมาใช้สอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยกำหนดสถานการณ์ว่าทุกคนถูกปล่อยทิ้งไว้ที่เกาะร้าง ผู้เรียนจะได้ฝึกฝนทักษะต่างๆ เช่น การลำดับความสำคัญ เลือกผู้นำ และสร้างกฎเกณฑ์ กิจกรรมนี้ออกแบบมาเพื่อสอนทักษะที่จำเป็น สำหรับสมาชิกที่ดีของชุมชน และช่วยให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของการตัดสินใจ อย่างมีประสิทธิภาพ
สิ่งที่ข้าพเจ้าได้จากการเรียนรู้เรื่องการสร้างชุมชน
การสอนเรื่องชุมชนเป็นหัวใจหลักของหลักสูตรวิชาหน้าที่พลเมืองเป็นการสอนที่ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1เป็นต้นแบบการจัดการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนศึกษาถึงสภาพภูมิอากาศ สภาพพื้นที่ที่จะทำการทดสอบ เช่น สภาพของสถานที่ที่จะไปว่ามีสถานที่ใดบ้าง ให้นักเรียนวิเคราะห์และร่วมกันแสดงความคิดเห็นกันให้นักเรียนร่วมกันวางแผนคิดและจินตนาการโดยเน้นผุ้เรียนเป็นศูนย์กลาง ปล่อยให้ผู้เรียนมีความคิดที่เป็นอิสระ ขั้นตอนแรกที่ครูให้นักเรียนดูนั้นเริ่มจากแผนที่และคิดวิเคราะห์จินตนาการ ว่าสถานที่ที่ไปนั้นเป็นอย่างไร หากสถานที่เป็นเกาะร้างบริเวณรอบไม่มีสิ่งเอื้ออำนวยหากเป็นเช่นนี้นักเรียนจะทำอย่างไร เหตุนี้สอนให้นักเรียนรู้จักคิดถึงการอยุ่ร่วมกันและความเข้มแข็งของชุมชนโดยให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ป็นตัวอย่างชุมชน 1 ชุมชน เพื่อให้รู้ถึงสภาพจริงของคนในชุมชนนั้นๆ ครูจะสอนให้นักเรียนมีความช่วยเหลือกัน มีทัศนคติต่อเพื่อนร่วมห้อง และมีความสุขในการใช้ชีวิตร่วมกันดังเช่นคนในชุมชน
การเรียนรู้โดยวิธีการศึกษานอกสถานที่
การเรียนรู้แบบการศึกษานอกสถานที่ เป็นการจัดการเรียนรู้ ที่ผู้สอนพาผู้เรียนออกไปศึกษานอกสถานที่ เพื่อแสวงหาคำตอบจากประสบการณ์ตรงและสถานที่จริง โดยมีวิทยากรเป็นผู้ให้ความรู้ การพาผู้เรียนไปนอกสถานที่ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์เกี่ยวกับการพัฒนาด้านสังคม ให้รู้จักรับผิดชอบต่อชุมชน ต่อตนเอง ส่งเสริมการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เร้าความสนใจให้แก่ผู้เรียน การศึกษานอกสถานที่ถือเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่ามาก เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกๆ เพราะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ตรง สามารถเกิดเจตคติที่พึงประสงค์ ปลูกฝังเยาวชนให้รู้จักหวงแหน ภาคภูมิใจ รักและห่วงใยต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดได้ยากหากผู้เรียนเรียนรู้เฉพาะในห้องเรียน
คุณลักษณะที่ดีของครู
1. มีความเป็นครู คือ ทำตนเองเป็นตัวอย่างที่ดี มีเมตตาปราณี รักอาชีพครู ใฝ่รู้ โลก ทัศน์กว้าง รับผิดชอบต่อหน้าที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง มีวุฒิภาวะ ยุติธรรม มีชีวิตที่สงบ และ เรียบง่าย มีบทบาทในการช่วยเหลือชุมชนมากขึ้น
2. มีความรู้ในด้านต่อไปนี้ คือ
2.1 วิชาเฉพาะอย่างลึกซึ้งเหมาะสมกับระดับการศึกษาที่จะสอน
2.2 วิชาครู วิทยาการการจัดการ จิตวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน การวิจัย การประเมินผล
2.3 ความรู้ทั่วไป โดยเฉพาะเรื่องการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และการอนุรักษ์ ธรรมชาติ
3. มีความสามารถในวิธีสอน วิธีอบรมและการพัฒนาการเป็นผู้นำ ผู้ตาม และ ผู้ประสานงานที่ดีโดยได้รับการฝึกปฏิบัติเหมาะสมจนเกิดเป็นทักษะ
4. ความรับผิดชอบ หมายถึง ความมุ่งมั่น ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพัน พากเพียร และละเอียดรอบคอบ ยอมรับผลกระทำในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ทั้งพยายามที่จะปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่
5. ความยุติธรรม หมายถึง การปฏิบัติด้วยความเที่ยงตรง สอดคล้องกับความเป็นจริง และเหตุผล ไม่มีความลำเอียง
6. การรักษาวินัย หมายถึง การควบคุมความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสมกับ จรรยามารยาท ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม
อ้างอิง
http://sutipsada.blogspot.com/ อ้างถึงใน Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู แหล่งรวมข้อมูล วีดีโอ หน้าที่พลเมือง:การสร้างชุมชน 3 ก.พ 54
.............................................................................................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น