วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 14

ให้นักศึกษาศึกษา Power point  แล้วตอบคำถาม
การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping  สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร?
ยกตัวอย่างประกอบ  วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร?

Ø  เครื่องมือ Mind mapping
แผนที่ความคิด (MIND MAP) คืออะไร
คือ การนำเอาทฤษฎีที่เกี่ยวกับสมองไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด การเขียนแผนที่ความคิด (MIND MAP) นั้น เกิดจากการใช้ทักษะทั้งหมดของสมอง หรือเป็นการทำงานร่วมกันของสมองทั้ง 2 ซีก คือสองซีกซ้ายและซีกขวา ซึ่งสมองซีกซ้ายจะทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ คำ ภาษา สัญลักษณ์ ระบบ ลำดับ ความเป็นเหตุผล ตรรกวิทยา ส่วนสมองซีกขวาจะทำหน้าที่สังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ความงาม ศิลป จังหวะ โดยมีแถบเส้นประสาทคอร์ปัสคอโลซั่มเป็นเสมือนสะพานเชื่อม
วิธีการเขียน Mind Map
การเขียน Mind Map ให้ใช้กระดาษแผ่นเดียว ใช้สีสันหลากหลาย ใช้โครงสร้างตามธรรมชาติที่แผ่กระจายออกมาจุดศูนย์กลาง ใช้เส้นโยง มีเครื่องหมาย สัญลักษณ์ และรูปภาพที่ผสมผสานร่วมกันอย่างเรียบง่าย สอดคล้องกับการทำงานตามธรรมชาติของสมอง โดยมีวิธีเขียนดังนี้
1. เตรียมกระดาษเปล่าที่ไม่มีเส้นบรรทัด โดยวางกระดาษในแนวนอน
2. วาดภาพหรือเขียนข้อความที่สื่อถึงเรื่องที่จะทำไว้กลางหน้ากระดาษ โดยใช้สีอย่างน้อย 3 สี และต้องไม่ตีกรอบด้วยรูปทรงเรขาคณิต
3. คิดถึงหัวเรื่องสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเรื่องที่ทำ Mind Map โดยให้เขียนเป็นคำ ที่มีลักษณะเป็นหน่วย หรือเป็นคำสำคัญ (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมาย บนเส้น ซึ่งแต่ละเส้นจะต้องแตกออกมาจากศูนย์กลางไม่ควรเกิน 8 กิ่ง
4. แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญแต่ละเรื่องในข้อ 3 ออกเป็นกิ่ง ๆ หลายกิ่ง โดยเขียนคำหรือวลีบนเส้นที่แตกออกไป ลักษณะของกิ่งควรเอนไม่เกิน 60 องศา
5. แตกความคิดรองลงไปที่เป็นส่วนประกอบของแต่ละกิ่ง ในข้อ 4 โดยเขียนคำหรือวลีเส้นที่แตกออกไป ซึ่งสามารถแตกความคิดออกไปเรื่อยๆ
6. การเขียนคำ ควรเขียนด้วยคำที่เป็นคำสำคัญ (Key Word) หรือคำหลักที่มีความหมายชัดเจน
7. คำ วลี สัญลักษณ์ หรือรูปภาพใดที่ต้องการเน้น อาจใช้วิธีการทำให้เด่น เช่น การตีกรอบ
8. ตกแต่ง Mind Map ที่เขียนด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิดที่เชื่อมโยงต่อกัน
 
Mind-Mapping ถือเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มากมาย และสามารถพลิกแพลงได้อย่างหลากหลาย ทั้งในการศึกษา การบริหาร การจัดการ หรือแม้กระทั่งการวางแผน
ทั้งนี้ ในเชิงบริหาร การทำ Mind-Mapping ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในหมู่ผู้บริหารขององค์กร Mind-Mapping ไม่เพียงแต่สามารถแสดงแผนผังการบังคับบัญชา การแสดงสายงานได้อย่างดีและชัดเจนเท่านั้น แต่ Mind-Mapping ยังเป็นเครื่องมือการแก้ปัญหา เพื่อสร้างแนวทางการแก้ไข และการปฏิบัติการได้อย่างชัดเจน
การทำ Mind-Mapping นั้น ไม่จำเป็นจะต้องอาศัยคนจำนวนมากในการทำ เพียงแค่คนๆเดียวก็สามารถที่จะทำได้ และยังเป็น กิจกรรมประเทืองปัญญาช่วยให้ความคิดแตกแขนงขยายออกไปเสมือนกิ่งไม้ที่กำลังเผยแพร่ก้าน-ใบออกไปอย่างเจริญเติบโต
และเพื่อเป็นการยืนยังถึงประโยชน์ของ Mind-Mapping ถ้าคุณมีโอกาสได้คลุกคลีกับเหล่าผู้บริหารขององค์กรต่างๆ คุณจะเห็นว่า ทุกๆท่านเหล่านั้น ต่างเคยผ่านกิจกรรม และเป็นผู้ที่นิยมทำ Mind-Mapping เพราะนอกจากจะเป็นกิจกรรมประเทืองปัญญา สามารถกระทำได้ด้วยตัวคนเดียว การทำ Mind-Mapping นั้น ยังเป็นการเปิดกว้างความคิดแบบไม่มีอะไรมาขวางกั้นอีกด้วย ยกเว้นแต่ตัวของคุณเอง
นอกจากนั้น ในเครื่องมือของการบริหาร-การจัดการ ก็ยังจะมีเครื่องมือบางประเภทที่มีความคล้ายคลึงกันกับ Mind-Mapping เช่น แผนผังอิชิกาวา(Fish Bones) หรือ Tree-Diagram เป็นต้น ซึ่งทั้งสองเครื่องมือที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นนั้น ต่างมีความคล้ายคลึงกันมากพอสมควร จนบางครั้งอาจจะก่อให้เกิดความสับสนในการแยกประเภทของเครื่องมือบ้าง แต่ถ้าจะอธิบายแบบง่ายๆ Fish Bones จะถูกคิดค้นขึ้นเพื่อการนำไปใช้งานในเชิงลบ(Negative) เช่นการใช้เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหา ส่วน Tree-Diagram นั้นถูกคิดค้นเพื่อการนำไปใช้งานในเชิงบวก(Positive) ซะมากกว่า
แต่ข้อดีของ Mind-Mapping คือ ไม่จำกัด หรือบังคับว่าคุณจะต้องใช้ในเชิงลบหรือบวกเสมอไป” Mind-Mapping สามารถใช้ได้ทั้งเชิงลบ และเชิงบวก คุณอาจจะนำเอาปัญหามาตั้งเป็นหัวข้อ หรือจะนำเอาความคิดสร้างสรรค์มาตั้งเป็นหัวข้อก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการและ Idea ของคุณ
Mind-Mapping ที่ดีควรจะมีลักษณะการแตกแขนงเสมือนดั่ง ต้นไม้ใหญ่ ที่มีกิ่งก้านใบแตกแขนงออกไป โดยแบ่งลำดับหัวข้อออกกันอย่างชัดเจน และเปิดกว้าง ไม่วกวน ที่สำคัญหัวข้อย่อย หรือเนื้อหาของแต่ละหัวข้อจะต้องมีความเกี่ยวโยงเป็นทอดๆซึ่งกันและกัน เพื่อแสดงถึงความเชื่อมโยง(Connection)อย่างถูกต้องและเป็นระบบ(System)
Mind-Mapping เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่มีประโยชน์มากมาย และสามารถทำได้ง่ายๆด้วยตัวของคุณเอง เพียงแค่กระดาษ 1 แผ่น กับดินสอ/ปากกา 1 ด้าม คุณก็สามารถที่จะสร้าง Mind-Mapping ของคุณได้แล้ว เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ หรืออาจจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือเพื่อความสำเร็จ ก้าวหน้า สำหรับอาชีพการงานของคุณก็เป็นได้
 Ø  เครื่องมือหมวก 6ใบ
                เทคนิคการ สอนโดยใช้หมวก 6 ใบ                   
 เทคนิค หมวก 6 ใบ เป็นเทคนิคการสอนแบบตั้งคำถามเป็นการสอนเพื่อพัฒนาการคิดสำหรับนักเรียน ทุกระดับชั้น
มีขั้น ตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ
1.แบ่งนัก เรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
2.แบ่งกลุ่มนักเรียนให้คิด ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ตั้งคำถามให้คิด (สีขาว)
กลุ่มที่ 2 ถามความรู้สึก (สีแดง)
กลุ่มที่ 3 ตรวจสอบหาผลกระทบ (สีดำ)
กลุ่มที่ 4 หาข้อดี (สีเหลือง)
กลุ่มที่ 5 หาทางเลือกในการพัฒนา (สีเขียว)
กลุ่มที่ 6 โครงสร้างกระบวนการคิด

3.กลุ่มสรุปแผนการดำเนินโครงการ           จากการศึกษา เรื่อง หมวก 6 ใบ คิด 6 แบบ ทำให้ได้รับความรู้และทดลองฝึกปฎิบัติวิธีการคิดที่หลากหลาย ทำให้ทราบว่า เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เราสามารถมีวิธีการคิด หรือมุมมองในเรื่องเดียวกันนั้น ได้หลายแบบ แล้วแต่ว่า คุณคิดโดยใช้หมวกสีใด
           ซึ่งการคิดโดย ใช้หมวกสีต่างๆ ล้วนมีประโยชน์ทั้งสิ้น แล้วแต่ความเหมาะสมและการนำไปใช้ประโยชน์ ที่นี้มาดูนะคะว่าหมวก 6 ใบนั้นมีสีอะไรบ้าง และหมายถึงการคิดแบบใด
หมวก 6 ใบ หรือ 6 สี            
           สีขาว หมายถึง การคิดแบบอิงอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงข้อมูล และตัวเลข โดยไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง
- สวมบทบาทเป็นคอมพิวเตอร์ ให้ข้อเท็จจริงแบบเป็นกลาง และไม่มีอคติ ไม่ต้องตีความ ขอแค่ข้อเท็จจริงเท่านั้น อะไรคือข้อเท็จจริงต่างๆของเรื่องนี้ เมื่อครูต้องการให้เด็กคิดแบบสวมหมวกสีขาวก็ตั้งคำถามให้คิด
           
ตัวอย่างของคำถาม เช่น
1. เรามีข้อมูลอะไรบ้าง
2.เราต้องการข้อมูลอะไรบ้าง
3.เราได้ข้อมูลที่ต้องการมาด้วยวิธีใด
          
สีแดง หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของอารมณ์และความรู้สึก
- สิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับข้อมูลที่เป็นกลาง ลางสังหรณ์ สัญชาตญาณ ความประทับใจ สิ่งที่ไม่ต้องการข้อพิสูจน์ สิ่งที่ไม่ต้องเหตุหรือผลหรือหลักฐานมาอ้างอิง
         
ตัวอย่างของคำถาม เช่น
1.เรารู้สึกอย่างไร
2. นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ทำ
3.นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรกับความคิดนี้
         
สีดำ หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของข้อควรระวัง และคำเตือน เป็นหัวใจของการคิด
- ชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของเรื่องนั้น คอยเตือนภัยให้ระวังตัว สิ่งนั้นไม่สอดคล้องกับประสบการณ์ในอดีตอย่างไร ทำไมสิ่งนั้นอาจใช้การไม่ได้ ชี้ให้เห็นปัญหาและความยุ่งยาก การอยู่ในกรอบกฎเกณฑ์ ดำรงคุณค่าและจริยธรรม
        
ตัวอย่างของคำถาม เช่น
1.อะไรคือจุดอ่อน
2. อะไรคือสิ่งที่ผิดพลาด
3.อะไรคือสิ่งที่ยุ่งยาก
       
สีเหลือง หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกที่ดี เป็นมุมมองในแง่บวก รวมถึงความหวัง และการคิดในแง่ดี เป็นการคาดการณ์ในเชิงบวก
- เป็นความคิดเชิงบวก สีเหลืองคือสีของแสงแดดและความสว่างสดใส การมองโลกในแง่ดี การมุ่งมองที่ผลประโยชน์ การคิดที่ก่อให้เกิดผล หรือทำให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้นได้
         ตัวอย่างของคำถาม เช่น
1.จุดดีคือะไร
2.ผลดีคืออะไร
       
สีเขียว หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของความคิดริเริ่ม และ
2.ถ้านักเรียนจะทำให้สิ่งนี้...(ดีขึ้น)...จะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไร          
        สีฟ้า หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของการคิดแบบควบคุม การจัดระบบกระบวนการคิด และการใช้หมวกอื่นๆ
- เป็นการคิดที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบการคิด การควบคุมหมวกคิดใบอื่นๆ เป็นการมองภาพรวมข้อสังเกตและสถานการณ์โดยรวม สรุปและลงมติ
        
ตัวอย่างของคำถาม เช่น
1.อะไรที่ต้องการ
2.ขั้นตอนต่อไปคืออะไร
3.อะไรที่ทำไปก่อนแล้ว
                ประโยชน์ของการใช้ Six Thinking Hats
1.  ช่วยลดความขัดแย้งในการประชุมลงไปได้มาก
2.  ช่วยให้เกิดการคิดทีละด้าน มองทีละด้าน จากด้านหนึ่งไปมองอีกด้านหนึ่ง ทำให้เห็นภาพจริงที่ชัดเจน
 Ø  โครงงาน
                     โครงงานหมายถึง กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่นใดไปใช้ในการศึกษาหาคำตอบในเรื่องนั้นๆ โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า ดำเนินการ วางแผน กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน โดยทั่วๆ ไป การทำโครงงานสามารถทำได้ทุกระดับการศึกษา ซึ่งอาจทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงาน อาจเป็นโครงงานเล็กๆ ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนหรือเป็นโครงงานใหญ่ที่มีความยากและซับซ้อนขึ้นก็ได้ 
    ประเภทของโครงงาน
   1. โครงงานประเภทสำรวจ
                   โครงงานประเภทสำรวจ เป็นโครงงานประเภทเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อหาสาเหตุของปัญหาหรือสำรวจความคิดเห็น ข้อมูลที่รวบรวมได้บางอย่างอาจเป็นปัญหาที่นำไปสู่การทดลองหรือค้นพบสาเหตุของปัญหาที่ต้องหาวิธีแก้ไขปรับปรุงร่วมกัน เช่น โครงงานการสำรวจคำที่มักเขียนผิด โครงงานสำรวจการใช้คำคะนองในหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
                     2.โครงงานประเภทการทดลอง
                     โครงงานประเภทการทดลอง เป็นโครงงานที่ต้องออกแบบทดลอง เพื่อการศึกษาผลการทดลองว่าเป็นไปตามที่ตั้งสมมติฐานไว้หรือไม่ โครงงานประเภทนี้ต้องสรุปความรู้หรือผลการทดลองเป็นหลักการหรือแนวทางการปฏิบัติไว้ เช่น โครงงานการทดลองยากันยุงจากพืชสมุนไพร โครงงานการทดลองปลูกพืชสวนครัวโดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
                     3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
                     โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นโครงงานที่ประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์เข้าสู่กระบวนการปฏิบัติ โดยอาศัยเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อประดิษฐ์ชิ้นงานใหม่ อาจเป็นของใช้ เครื่องประดับจากวัสดุเหลือใช้ หรือนำวัสดุท้องถิ่นที่มีมากมายมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น โครงงานการประดิษฐ์เครื่องจักสานจากผักตบชวา โครงงานการประดิษฐ์เครื่องช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษ เป็นต้น
4. โครงงานประเภททฤษฎี
                    โครงงานประเภททฤษฎี เป็นโครงงานที่มีลักษณะเป็นการหาความรู้ใหม่ โดยการรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์จากสถิติแล้วอภิปราย หรือเป็นโครงงานที่ศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกิดจากข้อสงสัย อาจเป็นการนำบทเรียนมาขยายเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมให้ได้ความรู้ในแง่มุมที่กว้างและลึกกว่าเดิม เช่น โครงงานการศึกษาคำซ้อนในวรรณคดีร้อยแก้ว โครงงานการศึกษาข้อคิดจากเรื่อง
                    Ø  วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร?
             เทคนิค หมวก 6 ใบ เป็นเทคนิคการสอนแบบตั้งคำถามเป็นการสอนเพื่อพัฒนาการคิดสำหรับนักเรียน ทุกระดับชั้นส่วนการเรียนการสอนแบบโครงการ  เป็นการผสมผสานรูปแบบการ เรียนการสอนต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก เป็นการเรียนแบบลงลึกถึงรายละเอียดในเรื่องที่เด็กสนในและเป็นเรื่องที่เด็ก เลือกเรียนเอง จึงทำให้เด็กมีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ กำหนดคำถามที่ตนเองสนใจ เพื่อค้นหาคำตอบและรับผิดชอบต่องานที่ทำ
          ตัวอย่างเช่น  วิธีการสอนแบบโครงการจะใช้คำถามที่นำไปสู่การทดลอง เป็นการเรียนการสอนแบบลงปฏิบัติ  การค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัยด้วยวิธีการต่างๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เลือกศึกษาตามความสนใจของตนเองหรือของ กลุ่ม เป็นการตัดสินใจร่วมกัน จนได้ชิ้นงานที่สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ได้ในชีวิตจริง ส่วนวิธีการสอนแบบหมวก  6 ใบ จะใช้คำถามนักเรียนจะใช้ความคิดนี้ไปใช้ทำอะไร นักเรียนก็จะคิดมองทีละด้าน หลายๆแบบแล้วสรุปเป็นความคิดใหม่ ที่จะสามารถให้นักเรียนมีความรอบคอบและรอบด้านในเรื่องที่ศึกษา
                                                                                                                                                                   อ้างอิง
                                                                                             www.tet2.org/index.php?layโครงการ 15กุมภาพันธ์ 2554

                                                                                                                                                 

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 13

The Healthy Classroom : ----------- โดย อาจารย์อภิชาติ วัชรพันธุ์               แนวคิดของ Steven Hastings (2006) จากหนังสือที่ชื่อว่า
 
       ในวันนี้ กล่าวถึงความสาคัญของ "The Complete Classroom" โดย Hasting ได้เสนอแนะว่า "ห้องเรียนคุณภาพ/ห้องเรียนที่สมบูรณ์แบบ" น่าจะมีลักษณะที่สาคัญ 3 องค์ประกอบ คือ 1) The Healthy Classroom....เป็นห้องเรียนที่ให้ความสาคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน 2) The Thinking Classroom....เป็นห้องเรียนที่เน้นการส่งเสริมด้านการคิดวิเคราะห์ หรือพัฒนาการทางสมอง และ 3) The Well-Rounded Classroom....ห้องเรียนบรรยากาศดี The Healthy Classroom เพราะในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข่าวเรื่องนักเรียนโรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่ง จุดไฟเผาอาคารเรียน-อาคารห้องสมุดของโรงเรียน(ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อโรงเรียนซ้า เพราะคิดว่าไม่เกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนและเด็ก) ซึ่งผมคิดว่าปัญหาส่วนหนึ่งน่าจะเนื่องมาจากการจัดการเรียนการสอนในประเทศของเรา โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับความนิยมสูง จะเน้นในความเป็น “The Thinking Classroom” หรือห้องเรียนที่เน้นด้านสมอง ด้านวิชาการมากเป็นพิเศษ ทาให้ลดโอกาสในการสร้าง “The Healthy Classroom” : ห้องเรียนที่ให้ความสาคัญกับเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน การเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ คิดว่าเป็นการเสียหายที่น้อยมาก คือ เสียอาคารเพียงหลังเดียวและคุ้มค่ามาก หากเราจะได้บทเรียนและหันมาทบทวนกันอย่างจริงจังในเรื่อง ความเป็นห้องเรียนสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนเพื่อลดโอกาสความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องให้ความสาคัญกับเรื่องนี้ เพื่อสักวันหนึ่ง เราจะต้องไม่มานั่งเสียใจกับปัญหานักเรียนทำร้ายร่างกายตนเอง นักเรียนฆ่าตัวตาย หรือนักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายผู้อื่น/ทำลายสิ่งของ
คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ
 1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
ตอบ  ไม่เหมาะสม เนื่องจากการประมวลผลของเด็กไทยจาก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกแถลงว่าจะ เดินหน้าปกป้องเด็กไทยให้ปลอดภัยจากพิษร้ายของสารตะกั่ว หลังพบปัญหาสารตะกั่วยังมีอยู่และคุกคามสุขภาพเด็กในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก พบเด็ก 1 ใน 4 มีระดับสารตะกั่วในเลือดสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน เร่งประสานงานเครือข่ายพัฒนาแผนดูแลสุขภาพเด็กในพื้นที่เสี่ยงเพราะฉะนั้นจึงได้มีการจัดทำโครงการ รณรงค์ป้องกันภัย อาหารปนเปื้อนสารตะกั่วเป็นโครงการต่อเนื่อง 3 ปีภายใต้โครงการ อาหารปลอดภัยเด็กไทยฉลาดของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กไทยฉลาดรู้ ฉลาดเลือก และฉลาดบริโภค ตามข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิเด็กของ UNICEF และ UNEP ที่ระบุว่าเด็กควรได้รับการปกป้องคุ้มครองให้ปลอดภัยจากผลกระทบสิ่งแวดล้อม
       2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่า มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออกกำลังกายไหม)
ตอบ  น้อยมาก ในปัจจุบันนั้นการออกกำลังกายของเด็กไทยนั้นค่อนข้างจะน้อย มีบางส่วนที่ได้ออกกำลังกายบ้างในตอนเย็น  เช่น การแตะฟุตบอลกับเพื่อนๆเล่นแบตบินตัน  วอลเลย์บอลนั้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้น แต่ปัจจัยหลักก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น1.  มีสนามรองรับไม่เพียงพอต่อการออกกำลังกาย
2. เด็กบางคนมุ่งแต่เรียนไม่คิดที่จะออกกำลังกาย
3. รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์
       3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
ตอบ   เด็กแต่ละคนควบคุมตนเองได้ดีไม่เท่ากันอาจเป็นเพราะพฤติกรรมการเรียนรู้ในวัยเด็กและสิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว  การเลี้ยงดูที่เหมาะสมสามารถช่วยกล่อมเกลาและการควบคุมอารมณ์ด้านลบของเด็กได้ พร้อมกับส่งเสริมอารมณ์ด้านบวกให้โดดเด่นยิ่งขึ้น แต่หากเด็กที่มีพื้นฐานของอารมณ์ไม่ดีแล้วไม่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเข้าใจ ก็จะยิ่งกระตุ้นให้อารมณ์ที่ไม่ดีเหล่านั้นกลายเป็นนิสัยถาวร ไร้การควบคุม ส่วนเด็กที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่พ่อแม่ทะเลาะกันอยู่เสมอจะกลายเป็นเด็กอารมณ์ร้ายและมีอีคิวต่ำ  นอกจากนี้วิธีการเลี้ยงดูเด็กก็มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก
       4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
ตอบ  มี  เพราะ โรงเรียนได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพิ่มเติมในเรื่องของเนื้อหากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยเด็กแต่ละคนสามารถเลือกกิจกรรมตามที่ตนสนใจ หรือความถนัดของตนเพื่อเพิ่มพัฒนาการสมรรถภาพให้กับตนเองและกิจกรรมบางอย่างยังสามารถช่วยพัฒนาด้านอารมณ์ให้มั่นคงและปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีสมรรถภาพในการ ทำงาน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความพอใจ สุขภาพไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญและ จำเป็นสำหรับทุกชีวิตในการดำรงอยู่อย่างปกติ เป้าหมายของการเรียนรู้ วิชาสุขภาพจิต ก็คือ การทำให้ชีวิตมีความสุข ความพอใจ ความสมหวัง ทั้งของตนเองและของผู้อื่น
       5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
ตอบ  มีสำหรับบางโรงเรียน เช่นโรงเรียนบ้านใหม่ถาวร จังหวัดสระแก้ว ดำเนินนโยบายด้านจุดเน้นที่ 3ส่งเสริมระบบดูแลนักเรียนอย่างยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่องโดยได้นำหลักการขอระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 หลักคือ
1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล               
2. การคัดกรองนักเรียน          
3. การส่งเสริมนักเรียน                                
4. การป้องกันและแก้ไขปัญหา                                          
5. การส่งต่อ
               และนโยบาย 3 ดี  Demoจังหวัดสระแก้วcracy , Decency และDrug-free   โดยได้ดำเนินการมีขั้นตอนดังนี้
การดำเนินการ
 1. วางระบบการบริหารจัดการระบบการช่วยเหลือนักเรียน
 2. ดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
>>>2.1 รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล===== โดยการเยี่ยมบ้านนักเรียน
>>>2.2 คัดกรองเด็กนักเรียน====จากแบบสำรวจ SDQ ทั้ง 3 ด้าน คือนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ผลการคัดกรองของนักเรียนทำให้ทราบถึงจำนวนนักเรียนกลุ่มต่างๆและสามารถช่วยเหลือได้อย่างตรงจุดผลการสรุปผลการคัดกรอง (แยกตามกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา)
>>>2.3 ส่งเสริมนักเรียน=====กิจกรรมส่งเสริมด้านคุณธรรม
 1.ปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีมีศีลธรรม เข้าวัดทำบุญในวันสำคัญทางพุทธศาสนา
 2. ส่งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสร้างความอบอุ่นในครอบครัวแก่ตัวนักเรียน เช่นกิจกรรมวันแม่แห่งชาติ กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ เป็นต้น
3.สุขภาพแข็งแรงห่างไกลยาเสพติด อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย เช่น กิจกรรมการเรียนมวยไทย เป็นต้น
>>>2.4ป้องกันและแก้ไขปัญหา
1.กิจกรรมราชฑัณเชิงสมานฉัน ผู้ต้องขังกับสังคม
2.  เป็นการป้องกันการกระทำความผิดในอนาคตและส่งเสริมจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม ในฐานะที่นักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
>>>2.5 การส่งต่อทางโรงเรียนบ้านใหม่ถาวรได้มีการส่งต่อดังนี้
ส่งต่อภายในโรงเรียนในระดับชั้นเรียน เอกสารประจำชั้น ข้อมูลรายบุคล ฯลฯ
ส่งต่อภายนอกโรงเรียน ดูแลนักเรียนด้านการขอสนับสนุนทุนการศึกษาจากองค์กรภายนอก เช่น อบต.สระขวัญ กาชาดจังหวัดสระแก้ว
6) ครูประจำชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
ตอบ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีขั้นตอน พร้อมด้วยวิธีการและเครื่องมือการทำงานที่ชัดเจน โดยมีครูประจำชั้นเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินการดังกล่าว และมีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับครูที่เกี่ยวข้อง หรือบุคลากรภายนอก รวมทั้งการสนับสนุนส่งเสริมจากโรงเรียน  เช่น  กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนเยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อเป็นการเข้าไปพบปะพูดคุย สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนและสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียน  เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาในด้านต่าง ๆเท่าที่ทางโรงเรียนจะสามารถช่วยเหลือได้  เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนเป็นรายบุคคล  เพื่อทราบเกี่ยวกับสภาพปัญหาของตัวนักเรียน และจะได้นำข้อมูลในกรณีที่นักเรียนเกิดปัญหามาวิเคราะห์และหาแนวทางช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาต่อไป
       7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบคุมอารมณ์”)
ตอบ ทางโรงเรียนจะมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต  โดยจะสอดแทรกเอาไว้ในกิจกรรมของวิชานั้นๆ  ให้นักเรียนได้ปฏิบัติ
       8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
ตอบ มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับโรงเรียนแต่ละพื้นที่หากเป็นโรงเรียนที่เข้าโครงการส่งเสริมและช่วยเหลือเด็กอย่างต่อเนื่องดังเช่น โรงเรียนบ้านใหม่ถาวร จังหวัดสระแก้วก็จะทำการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะๆ อย่างจริงจัง
       9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
ตอบ  มี เพื่อนำมาใช้ในการสังเกตและประเมินนักเรียนว่ามีภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตเป็นเช่นไร รวมถึงคุณลักษณะประจำตัวของนักเรียนว่าได้ดำเนินการช่วยเหลือ สนับสนุน หรือหาทางแก้ไขได้ต่อไปอย่างไรเช่น ระบบประเมินสุขภาพด้วยตนเองสำหรับนักเรียน เพื่อให้นักเรียน และผู้ที่ใส่ใจดูแลสุขภาพของบุตรหลานโดย สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสุขภาพของตนเองได้ว่ามีภาวะสุขภาพที่ดี หรือมีความผิดปกติ ตลอดจนมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหรือความเจ็บป่วยในเรื่องต่างๆ อย่างไร เป็นต้น
 การทบทวนคำถาม ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เรามองเห็นสภาพปัจจุบัน-ปัญหา ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่อง การพัฒนาเด็กแบบไม่สมดุล ที่เน้นการพัฒนาด้านวิชาการ มากกว่าการพัฒนา ด้านสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิต ซึ่งเป็นเรื่องสาคัญ จากการศึกษาแนวคิด เรื่อง The Healthy Classroom Hasting(2006) ได้เขียนถึงปัญหา การบริโภคอาหารไร้คุณภาพ(Junk Food) ปัญหาการเบี่ยงเบนทางเพศ ปัญหาการทำร้ายร่างกายตนเอง ปัญหาการฆ่าตัวตายของเด็ก ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ชักจะเข้าใกล้ประเทศเรามากยิ่งขึ้นทุกวัน ยกเว้นเราจะมีการทบทวนสภาพปัญหาเหล่านี้กันอย่างจริงจัง ผมเชื่อว่า จะนำไปสู่การกาหนดยุทธศาสตร์ หรือแนวทางการแก้ปัญหา ที่เป็นรูปธรรม ในโอกาสต่อไปได้อย่างแน่นอน ทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตนักเรียน
                                                                                                                              อ้างอิง
http://www.skdec.com/bmt/999/page3.html  สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สังกัดกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข 15 กุมภาพันธ์ 2554
www.thaipr.net/nc/readnews โรงเรียนบ้านใหม่ถาวร 15 กุมภาพันธ์ 25541

 จากคำถามดังกล่าวให้สรุปและตอบลงในบล็อกของนักศึกษา
**********************************************************************************************************************