วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3

ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
4. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ

นายชวน หลีกภัย
              

ประวัติของนายชวน หลีกภัย         
                นายชวน หลีกภัย เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ที่ตำบลท้ายพรุ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 9 คน ของนายนิยม หลีกภัย และนางถ้วน หลีกภัย เมื่อยังเด็ก นายชวนมีชื่อเรียกในครอบครัวว่า "เอียด" หมายถึง เล็ก เนื่องจากเป็นครูรูปร่างเล็กมีบุตรชายกับนางภักดิพร สุจริตกุล หนึ่งคน คือ นายสุรบถ หลีกภัย
                นายชวน หลีกภัย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองสมัย สมัยแรกระหว่างปี พ.ศ. 2535-2538 (ครม.คณะที่ 50) สมัยที่สองระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544 (ครม.คณะที่ 53) และเคยดำรงตำแหน่งเป็น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ติดต่อกัน 3 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2534-2546 เป็นเวลารวม 12 ปี


ผลงานเด่น
1. โครงการวิ่งรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2530
                โครงการนี้จัดขึ้นโดยมีมูลนิธิแพทย์ชนบทเป็นแกนกลาง ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรเอกชนอื่น ๆ เช่น มูลนิธิหมอชาวบ้าน คณะกรรมการประสานองค์กรเอกชนเพื่อการพัฒนาสาธารณสุข (คปอส.) ชมรมแพทย์ชนบท ฯลฯ จัดโครงการวิ่งรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงพิษภัยของการไม่สูบบุหรี่ ร่วมลงชื่อแสดงประชามติสนับสนุนการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ อันเป็นการกระตุ้นให้รัฐบาลได้ให้ความสนใจเข้ามารับผิดชอบแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง และเป็นการกระทำเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบด้วย ได้มีการเตรียมการวางแผนและประสานกันอย่าเต็มที่ แล้วทำการวิ่งรณรงค์ทั่วประเทศในระหว่างวันที่ 16-22 ตุลาคม 2530 จากทุกภาคของประเทศเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เพื่อนำรายชื่อผู้ร่วมลงประชามติมอบแก่ประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายชวน หลีกภัย) รับไปพิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป
การวิ่งรณรงค์แบ่งออกเป็น 4 สาย ดังนี้
สายเหนือ วิ่งจากจังหวัดเชียงใหม่ มี นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เป็นหัวหน้าสาย
สายใต้ วิ่งจากสวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีนพ.ชูชัย ศุภวงศ์ เป็นหัวหน้าสาย
สายตะวันออกเฉียงเหนือ วิ่งจากจังหวัดอุบลราชธานีและอุดรธานี มาบรรจบกันที่จังหวัดขอนแก่นแล้ววิ่งเข้าสู่กรุงเทพฯ มี นพ.สำเริง แหยงกระโทก เป็นหัวหน้าสาย
สายตะวันออก นพ.สมชัย ศิริกนกวิไล และ นพ.สงวน นิตยารัมภ์งพงศ์ ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานโครงการ ได้รายชื่อผู้ร่วมลงประชามติ ประมาณ 6 ล้านรายชื่อ
                ในการวิ่งครั้งนี้ มีแพทย์ชนบท เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้สนใจเข้าร่วมวิ่งในโครงการประมาณ 300 คน และในวันที่วิ่งเข้าถึงกรุงเทพมหานคร มีผู้ร่วมในพิธีมอบรายชื่อประชามติ ประมาณ 2,000 คน
                พิธีมอบรายชื่อกระทำเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2530 ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยมี พลตรีจำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้นเป็นผู้ให้การต้อนรับ มี ศจ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว เป็นผู้มอบรายชื่อประชามติให้กับ นายชวน หลีกภัย
โครงการหารายได้เพื่อดำเนินการได้ทั้งสิ้น 528,457 บาท ใช้จ่ายไปจริง 489,053.50 บาท คงเหลือเงิน 39,403.50 บาท สำหรับดำเนินกิจการอื่น ๆ ต่อเนื่อง
                โครงการนี้เป็นโครงการอันยิ่งใหญ่ที่แพทย์ชนบทได้ร่วมมือร่วมใจกันกระทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริม และพิทักษ์สุขภาพอนามัยของประชาชนทั่วประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการวิ่งรณรงค์แล้ว มูลนิธิฯ ยังได้ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องอีกหลายประการ ได้แก่ การผลักดันให้มีการจัดโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศเป็นเขตปลอดบุหรี่ การสร้างวิทยากรเพื่อการไม่สูบบุหรี่ทั่วประเทศ การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับปัญหาของการสูบบุหรี่ เป็นต้น
ผลของโครงการนี้ มีส่วนผลักดันและเสริมให้ "การรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่" ในประเทศไทยมีกระแสสูงยิ่งและเป็นกระแสที่สาธารณชนยอมรับและสนับสนุน จนกระทั่งกลายมาเป็นกฏหมายคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ และควบคุมการบริโภคยาสูบ รวมทั้งมีมาตรการเพื่อการไม่สูบบุหรี่อื่น ๆ ติดตามมาอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้

2.โครงการเยี่ยมแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกรโรงพยาบาลชุมชน
                เป็นโครงการที่ถือกำเนิดขึ้นเพื่อมุ่งที่การส่งเสริมขวัญและกำลังใจแก่แพทย์ที่ปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปฏิบัติงานอยู่ในเขตเสี่ยงภัยและทุรกันดาร และเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่วิชาชีพแพทย์ โดยการจัดทีมแพทย์อาวุโส อาจารย์แพทย์ และรุ่นพี่ที่สมัครใจออกเยี่ยมเยียนแพทย์ชนบท เริ่มโครงการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2531 และดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยในช่วง 2 ปีหลังนี้ได้ปรับขยายโครงการไปสู่การเยี่ยมเยียนทันตแพทย์ และเภสัชกรชนบทควบคู่กันไปด้วย
จากการประเมินผลการดำเนินงาน 5 ปี ของโครงการนี้ สรุปได้ว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดี สมควรดำเนินการต่อไป

3. โครงการสรรหาแพทย์ชนบท กองทุนนายแพทย์กนกศักดิ์ พูลเกษร
                สืบเนื่องจากการเสียชีวิตด้วยอาวุธสงครามระหว่างเดินทางกลับโรงพยาบาลของนายแพทย์กนกศักดิ์ พูลเกษร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นแพทย์ชนบทหนุ่มที่มีความตั้งใจและเสียสละไปปฏิบัติงานอยู่ในเขตเสี่ยงภัยชายแดน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2527 มูลนิธิฯ จึงได้จัดหาทุนตั้งเป็น "กองทุนนายแพทย์กนกศักดิ์ พูลเกษร" ขึ้น เพื่อเป็นการสดุดีและยกย่องเชิดชูเกียรติแก่นายแพทย์กนกศักดิ์ฯ จากนั้นก็ได้มีการจัดทำโครงการสรรหาเพื่อให้รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติแก่แพทย์ที่มีความตั้งใจ อดทนและเสียสละปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดีในชนบทเขตเสี่ยงภัยและทุรกันดาร ปีละ 1-2 คน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบันมีแพทย์ที่ได้รับรางวัลจากกองทุนนี้ไปแล้ว รวม 22 คน
                โครงการนี้เป็นอีกโครงการหนึ่งที่สามารถส่งเสริมขวัญ กำลังใจ และสนับสนุนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของแพทย์ชนบทได้อย่างเป็นรูปธรรม

สาเหตุที่ชอบนายชวน หลีกภัย
                เป็นบุคคลที่เป็นคนมีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงานเป็นบุคคลที่น่ายกย่องอีกคนหนึ่ง มีความขยันต่อหน้าที่การงานที่ทำ ไม่โกงบ้านโกงเมืองอยู่ในหลักศีลธรรม บริหารประเทศให้มีความเจริญเติบโต พัฒนาคนในประเทศให้อยู่อย่างมีความสุขไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน คอยที่จะแก้ปัญหาด้วยความปรองดองกันในสังคมให้ดีขึ้น

http://www.moph.go.th/ngo/rdf/16year.htm

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 2

ให้นักศึกษาศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ ในประเด็นนี้
             1. มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
             2. นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไรแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้            1.เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน            2.ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านั้นต้องได้รับการสนองตอบตามลำดับขั้น
            3.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์(Douglas MC Gregor Theory X,
Theory Y )
           เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน ทฤษฎี X(The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
                    1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
                    2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
                    3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
                    4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
                    5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
              ทฤษฎี Y(The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
                    1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
                    2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
                    3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
                    4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
              ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ค่อนข้างให้อิสระภาพ
               4.อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
สรุปเพื่อออมชอมสองทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ
                    1. การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
                    2. การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
                    3. การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
                    4. การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในกาตัดสินใจ                                                                                            
                                                                                                                               อ้างอิง
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง อ้างถึงใน.http://www.kruitth.com/index.phplay=show&ac=article&Id=420816&Ntype=6

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 1

ให้นักศึกษาค้นหาความหมายคำว่า การจัดการชั้นเรียน การบริหาการศึกษา จากหนังสือ อินเตอร์เน็ตแล้วสรุปแล้วเขียนลงบทลงในกิจกรรมที่ 1 ของเว็บล็อกของนักศึกษา
ความหมายของการจัดการชั้นเรียน
               การจัดการชั้นเรียนคือ การจัดสภาพของห้องเรียนทั้งทางวัตถุและทางกายภาพ ให้มีบรรยากาศน่าเรียน เพื่อสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขแต่ถ้าพิจารณาโดยละเอียดแล้วการจัดชั้นเรียนนั้น ครุจะต้องมีภาระหน้าที่มากมายหลายด้าน
               โดย ฮอล(susan colville-hall:2004)ให้ความหมายการจัดการชั้นเรียนไว้ว่าเป็นพฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรุ้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลขึ้นในชั้นเรียนซึ่งถือเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
               การจัดการชั้นเรียนที่มีคุณภาพนั้นต้องเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและคงสภาพเช่นนี้เรื่อยๆไป โดยสร้างแรงจูงใจในการเรียนรุ้ การให้ผลย้อนกลับและการจัดการเกี่ยวกับการทำงานของนักเรียน
                                                                 
ความหมายของการบริหารการศึกษา
               การบริหารการศึกษาหมายถึง การดำเนินงานของกลุ่มคนซึ่งอาจเป็นการดำเนินงานของรัฐมนตรีร่วมกับอธิบดีกรมต่างๆ อธิการบดีร่วมกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยหรือครูใหญ่ร่วมกับครูน้อยในโรงเรียน เป็นต้น การร่วมงานเหล่านี้จะต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอนของแต่ละหน่วยงาน เช่นครูใหญ่กับนักเรียน ครูจะต้องจัดกิจกรรม การวัดผลประเมินผล การจัดอาคารสถานที่และพัสดุครุภัณฑ์ การปกครองนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเป็นคนดีมีวินัยเป็นต้นส่วนลักษณะงานของผู้บริหารการศึกษาในสถาบันการศึกษาแล้วอาจแบ่งได้เป็นงานสำคัญๆ ดังต่อไปนี้
1.การวางแผนการศึกษา ได้แก่การวางแผนงานในทุก ๆ ด้านเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในสถาบันดำเนินไปอย่างราบรื่น
2.การจัดองค์กร ได้แก่การจัดรูปแบบการดำเนินงานภายในสถาบันการศึกษา รวมทั้งการจัดหาบุคลากรที่เหมาะสมเพื่อให้มารับตำแหน่งหน้าที่ตามที่กำหนดไว้
3.การจัดงานและควบคุมให้การทำงานเป็นไปตามที่กำหนด ได้แก่การกำหนดเนื้องาน การมอบหมายงานให้บุคลากรรับไปดำเนินงาน การประสานงานบุคลากร และ การควบคุมให้บุคลากรเหล่านั้นดำเนินงานตามที่กำหนดอย่างครบถ้วนและได้ผลดี
4.การสั่งการและการแก้ไขปรับปรุงงาน ได้แก่การออกคำสั่ง การออกระเบียบวิธีปฏิบัติ การกำหนดนโยบาย
5.การประเมินผลการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
6.การจัดทำรายงาน ได้แก่ การจัดทำรายงานต่างๆ ตามระดับที่จำเป็นเพื่อนำเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
7.การจัดทำงบประมาณ ได้แก่ การพิจารณาวางแผนด้านการใช้จ่ายของสถาบันล่วงหน้า นำเสนอแผนงบประมาณต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือต่อผู้บริหารเพื่อให้อนุมัติ จากนั้นก็ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามแผนงบประมาณนั้น
                                                                     อ้างอิง                     http://www.drkanchit.com
                                         การจัดการในชั้นเรียน 10พ.ย 53 www.edu.lru.ac.th/image/book12.pdf 
                                                        

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำตนเอง

นางสาวเยาวลักษณ์ แสงเทียร(รักษ์)
@@##ประวัติส่วนตัว##@@
ข้าพเจ้า:นางสาวเยาวลักษณ์ แสงเทียร
ชื่อเล่น:rak
ที่อยู่อาศัย:บ้านเลขที่46 หมุ่ที่ตำบลจันดี อำเภอฉวาง
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปัจจุบันพักอยู่:หอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (หอB)
ครอบครัว:ข้าพเจ้ามีพี่น้องรวม3คน (ข้าพเจ้าเป็นบุตรคนแรก)

@@##ประวัติการศึกษา##@@
จบการศึกษาระดับชั้นอนุบาล:ณโรงเรียนไพบูลย์วิทยา อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา&มัธยมศึกษาตอนต้น:ณโรงเรีนวัดจันดี
อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย:ณโรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก
อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปัจจุบันกำลังศึกษา:ระดับปริญญาตรี ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
คณะครุศาสตร์ หลักสูตรสังคมศึกษา01

@#**ปรัชญา**#@
***ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝันเท่านั้นพอ***

**************************************************************