วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 1

ให้นักศึกษาค้นหาความหมายคำว่า การจัดการชั้นเรียน การบริหาการศึกษา จากหนังสือ อินเตอร์เน็ตแล้วสรุปแล้วเขียนลงบทลงในกิจกรรมที่ 1 ของเว็บล็อกของนักศึกษา
ความหมายของการจัดการชั้นเรียน
               การจัดการชั้นเรียนคือ การจัดสภาพของห้องเรียนทั้งทางวัตถุและทางกายภาพ ให้มีบรรยากาศน่าเรียน เพื่อสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขแต่ถ้าพิจารณาโดยละเอียดแล้วการจัดชั้นเรียนนั้น ครุจะต้องมีภาระหน้าที่มากมายหลายด้าน
               โดย ฮอล(susan colville-hall:2004)ให้ความหมายการจัดการชั้นเรียนไว้ว่าเป็นพฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรุ้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลขึ้นในชั้นเรียนซึ่งถือเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
               การจัดการชั้นเรียนที่มีคุณภาพนั้นต้องเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและคงสภาพเช่นนี้เรื่อยๆไป โดยสร้างแรงจูงใจในการเรียนรุ้ การให้ผลย้อนกลับและการจัดการเกี่ยวกับการทำงานของนักเรียน
                                                                 
ความหมายของการบริหารการศึกษา
               การบริหารการศึกษาหมายถึง การดำเนินงานของกลุ่มคนซึ่งอาจเป็นการดำเนินงานของรัฐมนตรีร่วมกับอธิบดีกรมต่างๆ อธิการบดีร่วมกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยหรือครูใหญ่ร่วมกับครูน้อยในโรงเรียน เป็นต้น การร่วมงานเหล่านี้จะต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอนของแต่ละหน่วยงาน เช่นครูใหญ่กับนักเรียน ครูจะต้องจัดกิจกรรม การวัดผลประเมินผล การจัดอาคารสถานที่และพัสดุครุภัณฑ์ การปกครองนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเป็นคนดีมีวินัยเป็นต้นส่วนลักษณะงานของผู้บริหารการศึกษาในสถาบันการศึกษาแล้วอาจแบ่งได้เป็นงานสำคัญๆ ดังต่อไปนี้
1.การวางแผนการศึกษา ได้แก่การวางแผนงานในทุก ๆ ด้านเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในสถาบันดำเนินไปอย่างราบรื่น
2.การจัดองค์กร ได้แก่การจัดรูปแบบการดำเนินงานภายในสถาบันการศึกษา รวมทั้งการจัดหาบุคลากรที่เหมาะสมเพื่อให้มารับตำแหน่งหน้าที่ตามที่กำหนดไว้
3.การจัดงานและควบคุมให้การทำงานเป็นไปตามที่กำหนด ได้แก่การกำหนดเนื้องาน การมอบหมายงานให้บุคลากรรับไปดำเนินงาน การประสานงานบุคลากร และ การควบคุมให้บุคลากรเหล่านั้นดำเนินงานตามที่กำหนดอย่างครบถ้วนและได้ผลดี
4.การสั่งการและการแก้ไขปรับปรุงงาน ได้แก่การออกคำสั่ง การออกระเบียบวิธีปฏิบัติ การกำหนดนโยบาย
5.การประเมินผลการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
6.การจัดทำรายงาน ได้แก่ การจัดทำรายงานต่างๆ ตามระดับที่จำเป็นเพื่อนำเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
7.การจัดทำงบประมาณ ได้แก่ การพิจารณาวางแผนด้านการใช้จ่ายของสถาบันล่วงหน้า นำเสนอแผนงบประมาณต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือต่อผู้บริหารเพื่อให้อนุมัติ จากนั้นก็ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามแผนงบประมาณนั้น
                                                                     อ้างอิง                     http://www.drkanchit.com
                                         การจัดการในชั้นเรียน 10พ.ย 53 www.edu.lru.ac.th/image/book12.pdf 
                                                        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น