วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่8

เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organization Culture)
ให้นักศึกษา  -สรุปความหมายวัฒนธรรมองค์การ
                     - แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
                     - แนวทางพัฒนาองค์การ
                      -กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
                     - แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
โดยให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าโดยใช้ Internet และเอกสารห้องสมุดให้ตรงกับหัวเรื่องตามที่อาจารย์กำหนดให้มา สรุปเป็นความคิดของนักศึกษาและอ้างอิงแหล่งที่ค้นคว้าด้วย
            ความหมายวัฒนธรรมองค์การ           
ความหมาย
                วัฒนธรรมองค์การคือ การสร้างของค่านิยมและความเชื่อซึ่งสมาชิกขององค์การหรือหน่วยงานให้ความสนใจของการดำรงอยู่ขององค์การ วัฒนธรรมองค์การแบบไหนที่มีอยู่ในองค์การที่สามารถจะค้นพบได้โดยการเรียนรู้ ตลอดจนรวมถึงตัวสัญลักษณ์และสถานภาพพิเศษของตัวองค์การ ผู้บริหารจักต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของปัจจัยทั้งหมดที่สามารถใช้ในการพัฒนาองค์การ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตั้งองค์การเป็นอย่างมาก
                วัฒนธรรมองค์การที่จะกล่าวถึงเป็นแบบแผนของความเชื่อ ค่านิยม ความคิด และการกระทำซึ่งมีการพัฒนาภายในองค์การและใช้เป็นสิ่งที่ช่วยแนะแนวทางพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การนั้นๆด้วย ถ้าเป็นในกลุ่มธุรกิจแบบนี้หมายถึง วัฒนธรรมบริษัท (Corporate culture) ในแต่ละองค์การจะมีวัฒนธรรมแตกต่างกันออกไปไม่มีทางเหมือนกันได้อย่างสมบูรณ์ ความแตกต่างของวัฒนธรรมองค์การสามารถที่จะมีผลกระทบเป็นอย่างมากกับผลการปฏิบัติงานขององค์การ และคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน
                องค์การบางแห่งมีวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ทุกคนรู้ถึงเป้าหมายขององค์การและต้องการทำงานเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายอันนั้น ภายในกลุ่มก็ต้องการการทำงานที่มีบรรทัดฐานของขนบธรรมเนียมและแบบแผนเป็นฉบับเดียวกันและ วัฒนธรรมที่ได้ถูกบรรจงสร้างขึ้นนี้จะได้รับการดูแลลให้เติบโตอยู่คู่กับองค์การจนเป็นลักษณะหรือเอกลักษณ์เฉพาะตัว แม้กาลเวลาจะผ่านไปองค์การก็ยังคงมีวัฒนธรรมที่ฝังแน่นและก็ยังคงเป็นองค์การชั้นนำอยู่ จริงอยู่วัฒนธรรมบางอย่างแปรเปลี่ยนไปและปรับตัวตามสภาพ บางอย่างก็ยังคงได้รับการยอมรับ และยึดถืออยู่อย่างเหนียวแน่น ตัวอย่างเช่น ท่านเดินเข้าไปในโรงแรมโคโลราโด สปริงส์ (Colorado springs) โรงแรมเบรกเกอร์ (Breakers)ที่เวสท์ ปาล์ม บรีช (West Palm Beach)หรือโรงแรม เอชที ฟรานซิส(ST. Francisce) จะมีบรรยากาศความรู้สึกรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ โรงแรมเหล่านี้มีบุคลิกภาพ มีเสน่ห์ ให้ความรู้สึก โรงแรมเหล่านี้มีวัฒนธรรมซึ่งมีอิทธิพลต่อวิถีทางที่ลูกค้าตอบรับ และต่อวิถีทางที่พนักงานปฎิบัติต่อลูกค้าได้เป็นอย่างดี อีกตัวอย่าง แม็คโดแนลมีวัฒนธรรมองค์การที่แตกต่างกันออกไป ร้านอาหารจำนวน 1,300 ร้าน ในเครือข่ายแม็คโดแนลได้ให้ความสนใจทั้งหมดต่อคุณภาพ บริการและความสะอาด
                วัฒนธรรมจึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในองค์การที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทัศนคติและประสิทธิผลโดยรวมของพนักงาน นอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมก็มีอิทธิพลหรือมีอำนาจเหนือองค์การ ไม่ว่าวัฒนธรรมองค์การนั้นจะอ่อนหรือแข้งแกร่งสักปานใดก็ตาม ย่อมมีผลกระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่างภายในองค์การนับตั้งแต่การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง การตัดสินใน ตลอดจนการแต่งกาย การกีฬา การทำงาน เป็นต้น
                ดังนั้นผู้บริหารที่ฉลาดจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และเข้าใจในวัฒนธรรมองค์การ ตลอดจนต้องเรียนรู้ถึงบทเรียนเก่าๆของวัฒนธรรมองค์การว่า มีการผูกมัดคนไว้ด้วยกันอย่างไร ซึ่งจะมีผลสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การและรักษาคุณสมบัติที่ดีขององค์การไว้ได้นานตลอดไป
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ

ประเทศต่าง ๆ จะมีขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมประเพณีเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง องค์การก็เช่นเดียวกัน จะมีวัฒนธรรมองค์การที่แตกต่างกันไปในแต่ละองค์การได้ วัฒนธรรมองค์การจะสร้างประโยชน์หรือคุณค่าให้แก่องค์การนั้น ๆ เช่น วัฒนธรรมในการมุ่งสร้างคุณภาพ วัฒนธรรมในการสร้างนวัตกรรม เป็นต้น แต่ขณะเดียวกันวัฒนธรรมองค์การบางอย่างก็ทำให้เกิดจุดอ่อนแก่องค์การนั้น ๆ ได้ เช่น วัฒนธรรมแบบอนุรักษ์นิยม วัฒนธรรมการทำงานแบบมุ่งให้บุคลากรมีการแข่งขันกันมากจนเกินไป จนองค์การเกิดความระส่ำระสาย เป็นต้น

จากการศึกษาของ Daniel R. Denison (1990) ในปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การและประสิทธิผลขององค์การ พบว่าวัฒนธรรมองค์การจะส่งผลต่อประสิทธิผล (Effectiveness) ขององค์การเป็นอย่างมาก เมื่อวัฒนธรรมนั้นก่อให้เกิด
1.การผูกพัน (Involvement) และการมีส่วนร่วมในองค์การ
2.การปรับตัว (Adaptability) ที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ
3.การประพฤติปฏิบัติได้สม่ำเสมอ (Consistency) ซึ่งจะทำให้เกิดการทำงานที่ประสานกันและสามารถคาดหมายพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้
4.มีภารกิจ (และวิสัยทัศน์) ขององค์การที่เหมาะสม ทำให้องค์การมีกรอบและทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน
ปัจจัยทั้ง 4 ส่วนนี้ จะทำให้องค์การสามารถบรรลุสู่ประสิทธิผล (Effectiveness) ตามที่ต้องการได้ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การจึงมีความสำคัญที่จะสนับสนุนให้องค์การบรรลุสู่วิสัยทัศน์ และภารกิจที่กำหนดอย่างเหมาะสมได้
กระบวนการสร้างสรรค์วัฒนธรรมองค์การ ( Creating the Organization Culture )
                ขั้นตอนที่หนึ่ง การกำหนดค่านิยมเชิงกลยุทธ์ (Formulate Strategic Values) ค่านิยมเชิงกลยุทธ์คือ ความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์การ ซึ่งเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์ที่ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการกลั่นกรองของสิ่งแวดล้อม และการวิเคราะห์กลยุทธ์เพื่อประเมินทางด้านเศรษฐกิจประชากร นโยบายสาธารณะ เทคโนโลยีและสังคม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นตัวกำหนดความต้องการของตลาดที่องค์การสามารถที่จะเผชิญได้
                ขั้นตอนที่สอง พัฒนาค่านิยมทางวัฒนธรรม (Develop Culture Values) คือค่านิยมที่พนักงานต้องการที่จะปฏิบัติเพื่อให้องค์การสามารถดำเนินตามค่านิยมเชิงกลยุทธ์ได้ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อขององค์การที่ว่า องค์การสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างไร และเมื่อใดถ้าองค์การไม่พยายามที่จะพัฒนาค่านิยมทางวัฒนธรรมให้เชื่อมโยงกับการกำหนดค่านิยมเชิงกลยุทธ์ ก็จะเป็นการจบไปกับความว่างเปล่าของกลุ่มค่านิยม ดังนั้นพนักงานในองค์การจำเป็นที่จะต้องมีค่านิยมเกี่ยวกับพฤติกรรมในการทำงานที่มีความมั่นคง เพื่อเป็นการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนค่านิยมเชิงกลยุทธ์ขององค์การ เช่นการผลิตที่ระดับต้นทุนที่ต่ำ การบริหารลูกค้า หรือวัฒนธรรมทางเทคโนโลยี
                ขั้นตอนที่สาม การสร้างวิสัยทัศน์ (Create Vision) วิสัยทัศน์คือ ภาพขององค์การ ว่าจะเหมือนหรืออยู่ ณ จุดใดในอนาคตขององค์การหลังจากที่มีการพัฒนาค่านิยมเชิงกลยุทธ์และค่านิยมทางวัฒนธรรมแล้วองค์การก็จะกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ ใช้เป็นแนวทางร่วมกันระหว่างค่านิยมเชิงกลยุทธ์กับค่านิยมทางวัฒนธรรม ซึ่งถูกกำหนดขึ้นมาเป็นอันดับแรกก่อนที่จะมีการเขียนวิสัยทัศน์ เพื่อการสร้างภาพในอนาคตขององค์การและสื่อสารผ่านพนักงานทุกคน สำหรับใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้เป็นตามเปาหมายขององค์การ
                ขั้นตอนที่สี่ การเริ่มดำเนินกลยุทธ์ (Initiate Implementation Strategies) เป็นการสร้าง ค่านิยมและเริ่มปฏิบัติเพื่อบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่ได้กำหนดไว้ การเริ่มต้นดำเนินกลยุทธ์มักจะครอบคลุมหลายปัจจัย ตั้งแต่การพัฒนาการออกแบบองค์การไปจนถึงการสรรหาและการฝึกอบรมพนักงานที่มีค่านิยมร่วม และดำเนินการตามค่านิยมร่วมนั้น โดยมีค่านิยมเชิงกลยุทธ์และค่านิยมทางวัฒนธรรมเป็นตัวกระตุ้นหรือสิ่งเร้าเพื่อให้เกิดการปฏิบัติ
                ขั้นตอนที่ห้า การเสริมแรงพฤติกรรมทางวัฒนธรรม (Reinforce Culture Behavior) การเสริมแรงพฤติกรรมทางวัฒนธรรมสามารถจะกระทำได้หลายรูปแบบ รูปแบบแรก การจัดการระบบการให้รางวัลอย่างเป็นทางการในองค์การ ซึ่งจะต้องตอบสนองต่อความต้องการของพฤติกรรมในหลายๆด้านเพื่อให้เกิดค่านิยมแก่พนักงาน รูปแบบที่สององค์การจะต้องบอกเรื่องราวต่างๆไปยังพนักงานทุกคนเพื่อเสริมสร้างค่านิยมทางวัฒนธรรม รูปแบบที่สาม องค์การจะต้องเน้นให้พนักงานที่สิ่งต่างๆที่สำคัญๆเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวิสัยทัศน์ขององค์การ และให้เกิดผลปฏิบัติได้อย่างจริงจัง ดังนั้นองค์การก็จะต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งเพื่อให้พนักงานทำในสิ่งที่เหมาะสม
การนำมาใช้กับบริหารกับองค์กรเทคโนโลยีการศึกษา
องค์กรเทคโนโลยีการศึกษาถือเป็นองค์กรรูปแบบหนึ่งที่มีการนำรูปแบบวัฒนธรรม
องค์การมาใช้ในหน่วยงาน ทำให้องค์กรเทคโนโลยีการศึกษามีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น
ไม่แตกต่างจากองค์กรอื่น  ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมที่เหมาะสมกับองค์เทคโนโลยีการศึกษาก็คือวัฒนธรรมองค์การที่เน้นบทบาท เพราะวัฒนธรรมองค์การนี้ใช้กับราชการหรือหน่วยงานจะเน้นในระเบียบ คำสั่ง กฎระเบียบต่าง ๆ  การเชื่อฟัง ทำตามกฎระเบียบ และคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
ซึ่งมีความล่าช้าในการปรับเปลี่ยนตัวเอง แล้วก็จะเอาวัฒนธรรมแบบเครือญาติกับวัฒนธรรมแบบราชการมาผสมรวมให้เป็นวัฒนธรรมองค์การเทคโนโลยีได้อีกหนึ่งรูปแบบ
วัฒนธรรมแบบเครือญาติ

วัฒนธรรมแบบราชการ

มีค่านิยมเน้น : - ความร่วมมือ
          - ความเอื้ออาทร
          - รักษาข้อตกลง
          - ความเป็นธรรม
          - ความเสมอภาคทางสังคม
มีค่านิยมเน้น : - ความประหยัด
 - ความเป็นทางการ
 - ความสมเหตุผล
 - ความเป็นระเบียบ
 - ความเคารพเชื่อฟัง

เพราะถ้าเอาแต่วัฒนธรรมแบบราชการมาอย่างเดียวอาจจะตึงเครียดไปจึงเอาวัฒนธรรมแบบเครือญาติมาด้วยเพราะบุคลากรในหน่วยงานต้องพบปะผู้คนมากอีกอย่างจะต้องทำงานกันเป็นทีมมีอะไรก็ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รักกันเหมือนพี่น้อง  บุคลากรที่ทำงานในหน่วยนี้ต้องมีใจรักงานบริการการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ต่อผู้ร่วมและผู้มาขอบริการ  แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้บริหารถ้ามีผู้บริหารที่ดีองค์กรเทคโนโลยีการศึกษาก็จะประสิทธิภาพในการทำงาน

                                                                                                                                                      อ้างอิง
                                                       images.tidabadbad.multiply.multiplyco อ้างถึงใน
                                              เสนาะ ติเยาว์. การบริหารและพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3 .พ.ศ. 2546 ,
                                                                                              โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กทม.
                                                   วิเชียร วิทยอุดม (2547) . พฤติกรรมองค์การ . พิมพ์ครั้งที่ 1 กทม.
        สุนทร วงศ์ไวศยวรรณ.  (2540).  วัฒนธรรมองค์การ แนวคิด งานวิจัย และประสบการณ์. 
                                                                                                             กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โฟร์เพช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น